ฮีทสโตรก อันตรายถึงตาย หากไม่สังเกตุอาการให้ดี!

April 11, 2023 อื่นๆ ฮีทสโตรก อันตรายถึงตาย หากไม่สังเกตุอาการให้ดี!

     ฮีทสโตรก หรือ โรคลมร้อนแดด คือภัยจากอากาศร้อนที่มีตั้งแต่อาการน้อยถึงอาการมาก โดยมีลักษณะอาการที่แตกต่างกัน

ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย : คนไข้ที่มีอาการตั้งแต่การบวมเฉพาะปลายมือ ปลายเท้า คนไข้ที่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เวียนหัว
ผู้ป่วยที่มีอาการมาก : กลุ่มคนไข้ที่มีอาการขาดน้ำจากการสูญเสียความร้อนเยอะ และอีกกลุ่มคือกลุ่มฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด เป็นกลุ่มที่รุนแรงที่สุด

สัญญาณเตือนของอาการ ฮีทสโตรก

  • อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • กระหายน้ำ
  • หายใจถี่
  • เดินเซ
  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้
  • หน้ามืด

กลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะ ฮีทสโตรก

  • กลุ่มคนที่ต้องทำงานอยู่กลางแจ้ง เช่น คนงานก่อสร้าง คนที่วิ่งมาราธอน
  • คนสูงอายุ กลุ่มเด็ก พวกนี้จะมีการสูญเสียความร้อนได้มากกว่ากลุ่มวัยรุ่นปกติ
  • คนไข้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ต้องใช้ยาโรคประจำตัว เช่น โรคพาร์กินสัน โรคความดันโลหิตสูง กลุ่มนี้ มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลมแดดได้มากขึ้น

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ผู้ป่วยโรคลมร้อน

  1. นำตัวผู้ป่วยเข้ามาในร่ม
  2. ให้ผู้ป่วยยกเท้าสูงทั้งสองข้าง คลายเสื้อผ้าให้หลวม
  3. ลดอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยโรคลมแดดให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด เช่น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งเช็ดตามตัว ซอกคอ รักแร้ และศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน
  4. ไม่ควรใช้ผ้าเปียกคลุมตัวเพราะจะขัดขวางการระเหยของน้ำออกจากร่างกาย
  5. หากยังไม่ฟื้น ตองรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล

การป้องกัน

     จะต้องหลีกเลี่ยงการออกแดดหรืออยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน แต่หากจำเป็นจะต้องอยู่กลางแจ้งจริงๆ จะต้องกางร่มเพื่อบังแดดด้วยนะครับ ดื่มน้ำให้มากๆแนะนำให้ทานน้ำเย็น หรือ หากอยู่ในบ้านในเปิดประตู หน้าต่างเพื่อไม่ให้ห้องอับเกินไป เพราะเนื่องจากถ้าเป็นห้องที่ปิดอากาศจะไม่ถ่ายเท และเกิดความร้อนสะสมนั่นเอง 

     รวมไปถึงการส่วมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา และน้ำหนักเบาเพื่อที่จะสามารถระบายความร้อนได้ดี 

     สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่าออกไปอยู่กลางแดดนานจนเกินไป ยิ่งเป็นเด็กและผู้สูงอายุจะต้องดูแลเป็นพิเศษนะครับ

Protect Yourself From the Dangers of Extreme Heat | Environmental Health  Toolkits | NCEH

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลวิชัยเวชอินเตอร์เนชั่นแนล, โรงพยาบาลวิภาวดีิ