อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ หรือ ที่ไหน และแน่นอนว่าต้องมีฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิดเสมอ อย่างกรณีขับรถชนท้ายส่วนใหญ่เมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ ผู้ขับขี่ที่ขับรถชนมักจะเป็นฝ่ายผิดทุกครั้ง แต่ใช่ว่าจะผิดเสมอไป เพราะต้องดูปัจจัยร่วม สภาพแวดล้อมโดยรอบที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วย ซึ่งตามกฏหมายพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 40 ระบุไว้ชัดเจนว่า “ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากคันหน้าพอสมควรในระยะที่หยุดรถได้โดยปลอดภัยเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ” หมายความว่ารถยนต์คันหลังจะต้องขับด้วยความระมัดระวัง แต่หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ก็จำเป็นต้องพิจารณาจากสถานการณ์ขณะที่เกิดเหตุประกอบด้วยอยู่ดี หากนำหลักฐานมายืนยัน ทั้งจากกล้องติดหน้ารถยนต์ หรือ รวบรวมพยานในที่เกิดเหตุ เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่ได้เกิดจากความประมาทของตนเอง ดังต่อไปนี้
1.ไม่ได้ขับเร็วและเว้นระยะห่างจากคันหน้าเพียงพอ
หากคุณเว้นระยะห่างตามที่การจราจรกำหนด คือ ขับรถห่างคันหน้าในระยะที่หยุดได้ปลอดภัย ไม่ขับกระชั้นชิด ไม่จี้ท้าย เพราะหากคุณขับจี้ท้ายรถคันหน้าถือว่าเป็นฝ่ายผิดแน่นอน
2.มีรถขับปาดรถคันข้างหน้าทำให้เบรกกะทันหัน
กรณีที่เบรกกะทันหัน อาจพิจารณาได้ด้วยว่า มีเหตุสุวิสัย เช่น มีรถปาดคันข้างหน้าของเราทำให้เบรกไม่ทันแล้วขับรถชนท้าย ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาจากสถานการณ์ว่าคุณเว้นระยะห่างเพียงพอกับคันข้างหน้าหรือไม่ และขับรถเร็วเกินกำหนดหรือไม่
3.รถคันหน้าเปลี่ยนเลนกะทันหัน
หากพบว่า รถชนกันตอนเปลี่ยนเลนโดยที่คันหน้าเปลี่ยนกะทันหัน หรือปาดแซงโดยไม่เปิดไฟเลี้ยว ถือว่ารถคันที่เปลี่ยนเลนเป็นฝ่ายผิดทันที แต่หากคันหน้าตั้งลำที่จะเปลี่ยนเลนเรียบร้อยแล้วและคุณขับด้วยความเร็วไปชนคันหน้า ส่วนใหญ่จะถือว่ารถที่อยู่ทางตรงเป็นฝ่ายผิด ทั้งนี้ในบางกรณีอาจจะประมาทร่วมกันได้
4.รถคันหน้ามีอาการมึนเมา
อุบัติเหตุรถชนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง มักเกิดจากการเมาแล้วขับ หากตรวจแล้วพบว่า “ผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์” ถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกทันที มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากบริษัทประกันจะไม่ให้ความคุ้มครองแล้ว ยังเป็นฝ่ายผิดอีกด้วย
5.รถคันหลังมาชนท้ายทำให้เคลื่อนไปชนคันหน้า
กรณีที่รถชนซ้อนคันตั้งแต่ 2 คันขึ้นไป อย่างเช่น หากพบว่ารถของคุณเป็นคันที่ 2 แล้วและเกิดเคลื่อนไปชนคันด้านหน้า เพราะรถคันที่พุ่งมาชนท้ายของคุณ ผู้รับผิดชอบจะต้องเป็นรถคันที่พุ่งมาชนท้ายคุณทันที
กรณีเป็นฝ่ายถูก
หากหลักฐานชัดเจนว่าเราเป็นฝ่ายถูก คู่กรณีจะต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าบริษัทประกันภัยรถยนต์ของคู่กรณีจะดำเนินการส่วนนี้ให้โดยที่เราสามารถนำรถไปซ่อมที่อู่ได้ และไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดแต่อย่างใด
สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อเป็นฝ่ายถูก
- หากรถของคู่กรณีมีประกันภัยให้แจ้งกับทางบริษัทประกันภัยของตนเอง
- ถ้าคู่กรณีไม่ยอมรับผิด ให้จดยี่ห้อ รุ่น สี หมายเลขทะเบียน และหมวดจังหวัดเอาไว้ หรือถ่ายรูปรถของคู่กรณีเก็บไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐาน
- ไม่ควรแยกรถจนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมาดำเนินการ หรือคู่กรณียอมรับผิดโดยให้เอกสารหลักฐานเช่น บันทึกการยอมรับผิดของคู่กรณี
- หากคู่กรณีหลบหนีให้ดำเนินการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนและลงบันทึกประจำวัน โดยให้พนักงานสอบสวนรับเป็นคดีไม่แจ้งเป็นหลักฐานโดยต้องระบุรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับรถคู่กรณีให้ได้มากที่สุด
- กรณีมีทรัพย์สินในรถของท่านเสียหายต้องแจ้งความลงบันทึกประจำวันเพราะท่านต้องเรียกร้องเองโดยตรง
กรณีเป็นฝ่ายผิด
ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นผู้ขับขี่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ แต่หากทำประกันภัยเอาไว้ทางบริษัทประกันจะเป็นผู้ชดใช้ในส่วนของค่าเสียหายให้ตามเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ และประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+ ก็สามารถจัดการเรื่องค่าเสียหายในการซ่อมรถคู่กรณีให้ได้
สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อเป็นฝ่ายผิด
- กรุณาอย่าหลบหนี เพราะท่านอาจไม่ใช่ผู้กระทำความผิด การหลบหนีอาจเป็นเหตุให้ต้องโทษในคดีอาญาเพิ่มขึ้นอีกด้วย
- เมื่อผิดต้องยอมรับผิดแต่โดยดี เพื่อให้ง่ายต่อการเคลียกับคู่กรณี
- หากคู่กรณีบาดเจ็บควรขอเบอร์ติดต่อ ติดตามอาการของคู่กรณี เพื่อให้ความช่วยเหลือและมีน้ำใจต่อกันบนท้องถนน
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ จะเห็นได้ว่าการทำประกันภัยรถยนต์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกัน รถโดนชนท้าย ไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูก บริษัทประกันภัยจะเข้ามาช่วยดูแลทั้งค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาล ทั้งของเราและของคู่กรณี
สำหรับใครที่กำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ราคาถูก และตรงกับความต้องการ สามารถทำได้ที่ ยิ้มได้ประกันภัย เพียงโทร 02-432-2345 หรือ ซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่าน www.yimdaiinsurance.com เพื่อรับความคุ้มครองที่คุ้มค่าที่สุด