พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร?
พ.ร.บ. รถยนต์ คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดยกฎหมายฉบับนี้จะกำหนดให้เจ้าของรถ ที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์หรือผู้ครอบครองรถในกรณีเป็นผู้เช่าซื้อรถ และต้องต่ออายุในทุกๆ ปี นอกจากเป็นประกันภัยภาคบังคับที่ผู้ใช้รถต้องทำอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็น 1 ในหลักฐานที่จำเป็นต่อการต่อภาษีรถยนต์ในทุกๆ ปี ในกรณีที่ไม่ทำจะถือว่าทำผิดกฎหมายนะครับ
พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง
ในกรณีที่เกิดเหตุความเสียหายขึ้นกับรถที่ทำประกัน พ.ร.บ. ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้
1.คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้นโดยหลังจากเกิดเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ จะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ ค่าเสียหายในกรณีทุพพลภาพ และเป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด | กรณีบาดเจ็บผู้ประสบภัยจะได้รับชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท/คน |
กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรหากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกายถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร บริษัทประกันจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท/คน | |
กรณีเสียชีวิตทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท/คน | |
2. คุ้มครองค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายหลังจากที่พิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายถูก โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามมูลรายละเอียดดังต่อไปนี้ | กรณีได้รับบาดเจ็บผู้ประสบภัยจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง (มีหลักฐานการชำระเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน) แต่ไม่เกิน 80,000 บาท/คน |
กรณีเสียชีวิตทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/คน | |
กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรผู้ประสบภัยจะได้รับค่าทดแทน | |
ในกรณีที่เข้ารับการรักษาในฐานะ “ผู้ป่วยใน” ภายในสถานพยาบาลผู้ประสบภัยจะได้รับค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน |
และเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 จะเป็นวันแรกที่มีการบังคับใช้ พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายฉบับใหม่ จะเน้นการเพิ่มโทษในข้อหาที่กระทบกับความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนรวมถึงเพิ่มอัตราโทษที่เป็นปัจจัยต่อการเกิดอุบัติเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการสูญเสียของผู้ขับขี่และผู้ใช้ทางกำหนดความผิดเกี่ยวกับการแข่งรถในทาง และกำหนดเรื่องการรัดเข็มขัดนิรภัย โดยกฎหมายใหม่ ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก ฉบับที่ 13 มีรายละเอียด ดังนี้
อัตราโทษ “เมาแล้วขับ”
- ผิดครั้งแรก จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ทำผิดซ้ำภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่กระทำผิดครั้งแรกเพิ่มอัตราโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับ 50,000 - 100,000 บาท และถูกยึดใบอนุญาตขับขี่
อัตราโทษ “ตามกฎหมายจราจร”
- ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ปรับไม่เกิน 4,000 บาท
- ขับรถย้อนศร ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ขับรถเร็วเกินกำหนด ปรับไม่เกิน 4,000 บาท
- ไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ปรับไม่เกิน 4,000 บาท
- ไม่สวมหมวกนิรภัย ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- (เพิ่มโทษผู้ขับขี่ที่ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตหรือร่างกายของผู้อื่น จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
อัตราโทษ “การรัดเข็มขัดนิรภัย”
- รถที่ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยได้ เช่น รถยนต์ส่วนบุคคล รถตู้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง
- รถกระบะ ผู้ขับขี่และผู้โดยสารต้องรัดเข็มขัดนิรภัยในที่นั่งตอนหน้า
- รถกระบะสองตอน ผู้โดยสารตอนหลังต้องรัดเข็มขัดนิรภัยด้วย
- หากฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
อย่างไรก็ตามการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดนอกจากจะช่วยทำให้เราขับขี่ปลอดภัยบนท้องถนนแล้วยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้อื่นด้วยเช่นกัน