สถานการณ์น้ำท่วมยังน่าระวังอยู่ และระดับน้ำยังขึ้นสูงอยู่ในบางพื้นที่ และได้มีออกประกาศเตือน 8 จังหวัด พื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง ควรติดตามสถานการณ์ และเฝ้าระวังน้ำขึ้นสูง จนถึง วันที่ 1 ก.ย. 67 หลัง “เขื่อนไชยะบุรี” ปล่อยน้ำ 1.7 หมื่น ลบ.ม./วินาที
ซึ่งมีรายงานว่า สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ประกาศเตือน 8 จังหวัด พื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงติดตามสถานการณ์น้ำ และเฝ้าระวังระดับน้ำขึ้นสูง
ล่าสุด วันที่ 31 ส.ค. เวลา 07.00 น. มีรายงานว่า ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านจังหวัดบึงกาฬ เช้าวันนี้วัดได้ 12.52 เมตร ลดลงจากวานนี้ 8 เซนติเมตร ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ดีขึ้นด้วยนะครับ
ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : ไทยรัฐ
“น้ำท่วม” เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งฝนตกหนัก พายุเข้า ลมมรสุม หรือแม้แต่การตัดไม้ทำลายป่า และอ่างเก็บน้ำแตก น้ำท่วมถือว่าเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยในประเทศไทย ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อบ้าน ชีวิต และทรัพย์สินเป็นอย่างมาก
การรับมือน้ำท่วมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่ต้องควรระวังและเตรียมการไว้ตั้งแต่เบื้องต้นเมื่อรู้ว่าจะเกิดน้ำท่วม
การแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมสามารถแบ่ง ได้เป็น 4 ระดับด้วยกัน ดังนี้
- เฝ้าระวังอุทกภัย : ระดับที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างการสังเกตการณ์
- การเตือนภัย : การเตือนภัยว่าจะเกิดน้ำท่วมแน่นอน และให้รับมือเตรียมพร้อมป้องกันตัวเองและทรัพย์สิน
- อพยพทันที : แจ้งเตือนเมื่อเกิดน้ำท่วมรุนแรง
- การกลับเข้าสู่ภาวะปกติ : การแจ้งเตือนเมื่อเหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติหรือเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
ทำไมต้องเตรียมตัวรับมือน้ำท่วม?
- ลดความเสียหาย: การเตรียมตัวล่วงหน้าจะช่วยให้เราสามารถป้องกันความเสียหายต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินได้มากขึ้น
- เพิ่มความปลอดภัย: การรู้จักเส้นทางอพยพและมีอุปกรณ์ฉุกเฉินพร้อมจะช่วยให้เราและครอบครัวปลอดภัยในขณะเกิดเหตุ
- ลดความเครียด: การเตรียมตัวล่วงหน้าจะช่วยให้เรารู้สึกมั่นใจและลดความวิตกกังวลในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
8 วิธีเตรียมความพร้อมก่อนเจอน้ำท่วมหนัก
- ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด สถานการณ์น้ำท่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
- หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ควรเตรียม กระสอบทราย เพื่อใช้อุดปิดทางที่น้ำจะไหลเข้าบ้านได้
- เตรียมยกของขึ้นที่สูง ให้พ้นจากระดับน้ำท่วมเพื่อป้องกันความเสียหาย
- ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ให้พร้อมตลอดเวลา
- ปิดช่องปลั๊กไฟเพื่อป้องกันน้ำเข้าและป้องกันไฟดูด
- หากมียานพาหนะทั้งรถจักรยานยนต์และรถยนต์ควรจะนำไปไว้ในพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง
- ย้ายผู้ป่วย เด็กและคนชราไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย
- ควรปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า เตาแก๊ส ยกเบรกเกอร์ ปิดบ้านให้เรียบร้อยก่อนออกจากบ้าน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมอนามัย
น้ำท่วมถือเป็นภัยจากธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ว่าเราสามารถลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเองและทรัพย์สินของเราได้ ผู้ประสบภัยหรือกำลังเฝ้าระวังสถานการณ์ ควรติดตามข่าวสารและสังเกตุการณ์สภาพแวดล้อมโดยอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ ยิ้มได้ประกันภัย ขอร่วมส่งกำลังใจให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในทุกพื้นที่ และขอให้ทุกท่านปลอดภัยและผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปโดยเร็ว