การเตรียมตัว เตรียมรถให้พร้อมก่อนการเดินทางช่วงหยุดยาวปีใหม่เพิ่มความมั่นใจในการขับขี่อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น ให้ตรวจความพร้อมทั้งคนและรถก่อนออกเดินทางด้วยนะครับ การเตรียมความพร้อมเบื้องต้น 4 ขั้นตอนมีอะไรบ้างไปดูกันเลยครับ
ระบบเครื่องยนต์
- ตรวจเช็คระบบของเหลวทั้งระบบตั้งแต่หม้อน้ำ ต้องอยู่ในระดับที่ถูกต้องหรืออยู่ในระดับขีด MAX โดยดูได้จากกระบอกน้ำข้างๆ อีกทั้ง ตรวจเช็คท่อยางทางเดินของระบบหม้อน้ำทุกจุดว่ามีสภาพปกติหรือมีการแตกร้าว หากเป็นจุดที่มองไม่เห็นให้นำรถเข้าศูนย์บริการทันที
- ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจเช็คระบบท่อทางเดินน้ำมันให้ละเอียด สามารถให้ผู้มีความชำนาญตรวจเช็คตรวจดูให้อย่างจริงจัง
- สายพานด้านหน้าเครื่องยนต์หรือสายพานที่อยู่นอกเครื่องยนต์ เช่น สายพานแอร์, ไดชาร์จ ปั้มเพาเวอร์ เป็นต้น เพราะสายพานเหล่านี้มักจะมีผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์
- ระบบไฟที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์ต่างๆ เช่นหัวเทียน สายหัวเทียน คอยล์จุดระเบิด และสายไฟที่อยู่รอบๆ รวมถึงแบตเตอรี่สามารถดูที่ “ตาแมว” หากขึ้นสีแดงแสดงว่าไฟอ่อนหรือหมดควรรีบเปลี่ยนทันที
- ระบบน้ำมันเครื่องและน้ำมันเกียร์ต้องอยู่ในระดับที่ถูกต้อง โดยน้ำมันเครื่องสามารถเช็คได้จากเหล็กก้านวัดระดับ ในส่วนของระบบน้ำมันเกียร์อาจจำเป็นต้องเข้าศูนย์เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญนั่งเอง
ระบบไฟฟ้า
- เช็คได้ที่ไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเลี้ยว และไฟถอดหลังต้องติดครบทุกดวง
ช่วงล่าง – ล้อและยาง
- ระบบช่วงล่างขณะที่ขับตกหลุมมีเสียงดังผิดปกติหรือไม่ ขณะยุบตัวลงและขึ้นมีอาการเด้งผิดปกติหรือไม่
- ตรวจสภาพของล้อรถยนต์มีร่องรอยของการแตกร้าวตามขอบหรือก้านล้อหรือไม่ ตัววงล้อมีการบิดเบี้ยวที่ผิดรูปหรือไม่ ส่วนตัวของยางให้ตรวจแรงดันลมให้ตรงกับสเปคของผู้ผลิตรถยนต์เป็นหลัก
ระบบเบรก
ระดับน้ำมันเบรกในกระปุกต้องอยู่ในระดับ “MAX” และตรวจเช็คการทำงานของเบรกว่าปกติหรือไม่โดยการให้เหยียบเบรกแรงๆ ค้างไว้ ตัวแป้นเบรกต้องไม่จมควรอยู่ในระดับที่กดเท้าลงไปเท่านั้น หากพบว่าแป้นเบรกค่อยๆจม แสดงว่าระบบเบรกมีการรั่วให้รีบนำรถเข้าศูนย์ทันทีนอกจากนี้ให้เช็คความหนาของผ้าเบรกโดยสามารถส่องดูได้ที่จานเบรก
ระบบปัดน้ำฝน
ยางปัดน้ำฝนต้องอยู่ในสภาพดี ปัดได้เกลี้ยงเกลารวมถึงน้ำในกระบอกฉีดกระจกจะต้องเต็ม สามารถฉีดล้างและปัดกระจกให้ชัดเจนขึ้นเพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
รถพร้อม ผู้ขับขี่ก็ต้องพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ การพักผ่อนให้เพียงพอก่อนการเดินทางหรือการตรวจสุขภาพทั่วไปเบื้องต้นนั้นก็สามารถทำให้หายห่วงเรื่องของสุขภาพได้ แต่หากมีอาการป่วยอื่นๆ เช่น เป็นไข้ ลมชัก หรืออาการปวดเมื่อยต่างๆ ที่อาจรบกวนสมาธิในการขับขี่ก็ควรหยุดพักผ่อนเช็คร่างกายให้สมบูรณ์ก่อนค่อยออกเดินทาง นอกจากนี้การวางแผนการเดินทางไว้ล่วงหน้าอาจทำให้เราประหยัดเวลาในการเดินทางมากขึ้นไม่หลง หรือออกนอกเส้น รวมถึงการเตรียมของใช้จำเป็น เช่น ยาแก้ปวด แว่นกันแดด หรือของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นสำหรับผู้ขับขี่
ศึกษาดูแผนที่เส้นทางที่จะเดินทางว่าต้องผ่านจุดใดบ้างที่สำคัญหรือสภาพการจราจรโดยรวมคล่องตัวหรือไม่ หรืออาจหาเส้นทางลัด หรือ หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีพื้นที่ก่อสร้างก็ช่วยประหยัดเวลาได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งวางแผนหาจุดพักรถ พักเหนื่อย ณ จุดแวะพักต่างๆ และเติมน้ำมัน เพื่อลดอาการเหนื่อยล้าจากการขับขี่ได้ด้วย
ในช่วงเทศกาลสำคัญหรือหยุดยาวเป็นช่วงที่หลายท่านวางแผนการเดินทางสิ้นปี นอกจากจะวางแผนการเดินทางแล้ว การจด – บันทึก เบอร์โทรศัพท์ในกรณีฉุกเฉินติดเอาไว้ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากมีเหตุฉุกเฉิน เช่น เกิดอุบัติเหตุ เจ็บป่วย หรือรถเสีย หลงทาง มีเหตุด่วนเหตุร้าย อย่างน้อยการมีเบอร์ฉุกเฉินติดไว้บนรถก็สามารถติดต่อกับผู้ให้บริการได้อย่างทันท่วงที
เบอร์โทรฉุกเฉินด้านการแพทย์
- 1196 เมื่อพบเจออุบัติเหตุทางน้ำ
- 1554 หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล
- 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ทั่วไทย) เมื่อเจอเหตุด่วนเหตุร้ายหรือผู้ได้รับบาดเจ็บ
- 1691 โรงพยาบาลตำรวจ
เบอร์ฉุกเฉินเหตุด่วนเหตุร้าย
- 191 ติดต่อแจ้งเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ
- 192 ภัยพิบัติแห่งชาติ
- 199 ศูนย์วิทยุพระราม เพื่อแจ้งอัคคีภัย/สัตว์ร้ายบุกรุกบ้าน
- 1418 มูลนิธิปอเต๊กตึ๊ง กทม.
- 1155 ตำรวจท่องเที่ยว (สายด่วนเหตุร้ายที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว)
- 1192 ศูนย์ปราบขโมยรถ (สตช.)
- 1193 ตำรวจทางหลวง
- 1195 กองปราบ (สายด่วนแจ้งเหตุอาชญากรรม คดีร้ายแรงเป็นภัยต่อประเทศ)
- 1555 ศูนย์ร้องทุกข์กรุงเทพฯ (หน่วยประสานงานกลางเหตุฉุกเฉินในกรุงเทพฯ)
- 1300 ศูนย์ประชาบดี เพื่อแจ้งบุคคลสูญหาย
เบอร์โทรฉุกเฉินเกี่ยวกับการเดินทาง
- 1137 วิทยุ จส.100 (เบอร์โทรฉุกเฉินแจ้งเหตุด่วนบนท้องถนนเพื่อประสานงานต่อ)
- 1146 กรมทางหลวงชนบท (ติดต่อเรื่องท้องถนนเฉพาะพื้นที่ต่างจังหวัด)
- 1197 ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจรตำรวจ
- 1644 สวพ. FM91 (รายงานสภาพจราจรและแจ้งเหตุด่วนบนท้องถนน)
- 1356 ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม (ศูนย์ประสานภารกิจด้านความปลอดภัยระบบการขนส่ง)
- 1690 การรถไฟแห่งประเทศไทย (สอบถามสายรถไฟ ตั๋ว และอื่นๆ)
- 1584 กรมการขนส่งทางบก
- 1586 สายด่วนกรมทางหลวง
- 1543 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
- 1677 วิทยุร่วมด้วยช่วยกัน (เครือข่ายอาสาสมัคร)
- 1490 บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)
ขอขอบคุณข้อมูล : จากโรงพยาบาลเพชรเวช
การเตรียมความพร้อมเบื้องต้นก่อนเดินทางช่วงหยุดยาวต้องเตรียมความพร้อมทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รวมถึงผู้ขับขี่ ขับรถด้วยความไม่ประมาท ง่วงไม่ขับ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและถึงจุดหมายอย่างปลอดภัยนะครับ
เพิ่มความอุ่นใจในการใช้รถใช้ถนน การทำประกันภัยรถยนต์เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญ สำหรับใครที่สนใจสามารถเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ทางออนไลน์ได้ที่ ยิ้มได้ประกันภัย ที่เดียวจบครบทุกเรื่อง เพียงโทร 02-432-2345 หรือ ซื้อผ่าน www.yimdaiinsurance.com สะดวก ง่ายๆทำได้เพียงไม่กี่ขั้นตอนเพื่อความสบายใจในการใช้รถใช้ถนนเพื่อมอบสิ่งที่ดีกับตัวท่านเอง