หากทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการบริการความเสี่ยงบนท้องถนนได้ สำหรับผู้ขับรถทั่วไปและเจ้าของรถที่ต้องการความคุ้มครองนอกเหนือจากประกันภาคบังคับ(พ.ร.บ.) โดยหนึ่งในทางเลือกที่นิยมก็คือ การทำประกันแบบ “ระบะชื่อผู้ขับขี่” ที่ให้ส่วนลดค่าเบี้ยแลกกับการจำกัดความคุ้มครองให้เฉพาะบุคคลที่ระบุชื่อไว้เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2566 ต่อเนื่องมาถึงต้นปี 2567 เป็นต้นมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ออกหลักเกณฑ์ใหม่ที่เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการทำประกัน
มารู้จัก “ประกันแบบระบุชื่อผู้ขับขี่” ก่อนเปลี่ยนแปลง
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ คือรูปแบบหนึ่งของการทำประกันภัยที่ผู้เอาประกันสามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ที่จะได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ได้ ซึ่งต่างจากแบบ “ไม่ระบุชื่อ” ที่ให้ความคุ้มครองทุกคนที่ได้รับอนุญาตให้ขับรถคันนั้น
ข้อดีหลัก ของการระบุชื่อคือ เบี้ยประกันถูกลง 5 - 20% ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกัน เพราะ สามารถประเมินความเสี่ยงได้ตรงจุดมากขึ้น
แต่ข้อเสียคือ หากเกิดอุบัติเหตุแล้วผู้ที่ขับรถไม่ใช่บุคคลที่ระบุชื่อไว้ กรมธรรม์อาจไม่คุ้มครอง หรือให้ความคุ้มครองน้อยกว่าปกติ

เกณฑ์ใหม่มีอะไรบ้าง?
ผู้เอาประกันภัยสามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ได้สูงสุด 5 ชื่อต่อกรมธรรม์ โดยผู้ขับขี่ 1 คน สามารถระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่ของรถกี่คันก็ได้ สามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ในตารางกรมธรรม์ได้ไม่เกิน 2 คน สำหรับกรณีระบุชื่อผู้ขับขี่เกิน 2 คนขึ้นไป บริษัทประกันภัยจะระบุชื่อผู้ขับขี่ทั้งหมดไว้ในเอกสารแนบท้าย
การเริ่มใช้บังคับเกณฑ์ใหม่ แบบระบุชื่อผู้ขับขี่
คปภ. อนุโลมให้บริษัทประกันภัยใช้การประกันภัยเกณฑ์เดิมได้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2568 เท่านั้น ก่อนจะเริ่มใช้บังคับ เกณฑ์ใหม่แบบระบุชื่อผู้ขับขี่ ดังนี้
- ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2568 เป็นต้นไป สำหรับรถยนต์จดทะเบียนใหม่ หรือรถป้ายแดงทุกคัน (อายุไม่เกิน 1 ปี)
- ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป สำหรับรถยนต์ทุกคัน
*หากเกิดอุบัติเหตุที่ผู้ขับขี่ไม่ได้ถูกระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์นั้น ผู้ขับขี่จะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าความเสียหายส่วนแรกเป็นจำนวน ดังนี้
- ขั้นต่ำ 2,000 บาท สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินของคู่กรณี
- ขั้นต่ำ 6,000 บาท สำหรับความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย

เหตุผลเบื้องหลังการปรับปรุงเกณฑ์
1.ลดการฉวยโอกาสจากช่องว่างทางประกัน
- ในอดีต มีการเปลี่ยนรายชื่อผู้ขับขี่ระหว่างปีเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายเบี้ยแพง หรือให้บุคคลอื่นใช้สิทธิ์ที่ไม่ควรได้รับ
2.ควบคุมความเสี่ยงของบริษัทประกัน
- การจำกัดผู้ขับขี่ให้น้อยลง ทำให้บริษัทสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ตรงกลุ่มมากขึ้น ลดโอกาสขาดทุนจากพฤติกรรมการขับขี่ที่ประเมินยาก
3.ส่งเสริมการขับขี่อย่างรับผิดชอบ
- ผู้เอาประกันต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าใครควรเป็นผู้ขับขี่หลักจริง ๆ ไม่ใช่ทำแบบเหมารวม
ใครได้รับผลกระทบ?
- ครอบครัวที่ใช้ร่วมกันหลายคน: หากมีสมาชิกมากกว่า 2 คนที่ใช้รถ จะไม่สามารถใช้ประกันแบบระบุชื่อได้เหมือนเดิม
- เจ้าของรถที่เคยเปลี่ยนผู้ขับขี่กลางปี: ต้องวางแผนล่วงหน้ามากขึ้น
- ผู้ขับขี่มือใหม่: จะไม่สามารถเป็นผู้ที่ระบุชื่อในกรมธรรม์ได้ จนกว่าจะมีใบขับขี่เกิน 2 ปี
แล้วควรเลือกประกันแบบไหนดี? | |||
ประเภท | เหมาะสำหรับ | ข้อดี | ข้อเสีย |
แบบระบุชื่อผู้ขับขี่ | คนที่ขับรถเอง หรือมีคนขับไม่เกิน 2 คน | เบี้ยถูกลง 5 - 20% | ความคุ้มครองจำกัดเฉพาะผู้ระบุชื่อ |
แบบไม่ระบุชื่อ | ครอบครัวใหญ่, ใช้งานร่วมกันหลายคน | ทุกคนที่ขับรถได้รับความคุ้มครอง | เบี้ยสูงกว่า |
สรุป…
การปรับเกณฑ์ใหม่ของประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบบระบุชื่อผู้ขับขี่ แม้จะเข้มงวดขึ้น แต่ก็มีเป้าหมายเพื่อสร้างความยุติธรรม โปร่งใส และความมั่นคงในระบบประกันภัยโดยรวม การเลือกใช้ประกันในรูปแบบใด ควรพิจารณาจากลักษณะการใช้รถของคุณเป็นหลัก เพื่อให้ได้ความคุ้มครองที่ตรงจุดและคุ้มค่าที่สุดในระยะยาว
แต่หากว่าคุณเป็นผู้ขับขี่หลักที่ใช้รถคนเดียวหรือแค่สองคน การทำประกันแบบระบุชื่อยังคงเป็นทางเลือกที่ดี แต่ถ้าหลายคนใช้รถร่วมกันเป็นประจำ การพิจารณาเปลี่ยนไปใช้แบบไม่ระบุชื่ออาจให้ความยืดหยุ่นและความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากกว่าในสถานการณ์จริง

สำหรับใครที่มองหาประกันภัยรถยนต์ราคาถูก และตรงกับความต้องการ สามารถทำได้ที่ ยิ้มได้ประกันภัย เพียงโทร 02-432-2345 หรือ ซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่าน www.yimdaiinsurance.com เพื่อรับความคุ้มครองที่คุ้มค่าที่สุด