เชื่อว่ามีหลายๆ ท่าน น่าจะมีความเข้าใจผิดระหว่างป้ายภาษีและพ.ร.บ. ซึ่งทั้งสองอย่างอยู่ภายใต้กฎหมายที่มีข้อกำหนดให้ผู้ใช้รถทุกคนต้องจ่ายค่าภาษีและทำ พ.ร.บ. รถยนต์ ไว้ด้วย วันนี้ ยิ้มได้ประกันภัย จะมาคลายความสับสน ว่าป้ายภาษีรถยนต์ กับ พ.ร.บ. มีความแตกต่างกันอย่างไร
พ.ร.บ. รถยนต์
พ.ร.บ. รถยนต์ คือ “ประกันภัยภาคบังคับ” ซึ่งทางกฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกัน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ศ.2535) โดยกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกต้องทำประกันภัยประเภทนี้ เพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ โดยที่ไม่คำนึงถึงว่าบุคคลดังกล่าวจะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ โดยทีวัตถุประสงค์ดังนี้
- เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากรถยนต์ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าปลงศพ กรณีเสียชีวิต
- เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลในการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
- เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายจากภัยรถยนต์
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว
ทั้งนี้ กฏหมายจะให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฏหมายกำหนด
ความคุ้มครองเบื้องต้น
- ค่ารักษาพยาบาล 30,000 บาท/คน
- คนกรณีเสียชีวิต 35,000 บาท/คน
หากพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูก รับวงเงินคุ้มครองเพิ่ม
- ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ 80,000 บาท/คน
- เสียชีวิต 500,000 บาท/คน
- สูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 200,000 - 500,000 บาท
ภาษีรถยนต์
ภาษีรถยนต์ที่หลายท่านเรียกว่า “ป้ายวงกลม” เป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ต้องต่อกันเป็นประจำทุกปีตามที่กฎหมายกำหนด หากท่านใดไม่ต่อภาษีรถยนต์ติดต่อกัน 3 ปี รถยนต์ของท่านจะถูกระงับทะเบียน และต้องนำรถเข้าจดทะเบียนภาษีรถยนต์ใหม่ พร้อมกับคืนป้ายภาษีเก่า และต้องถูกเก็บค่าภาษีย้อนหลังอีกด้วย อย่างไรก็ตามผู้ขับขี่สามารถต่อภาษีรถยนต์ก่อนหมดอายุได้ไม่เกิน 3 เดือน
กฏหมายบังคับให้ติดหน้ารถเพื่อแสดงว่าชำระภาษีแล้ว
รถที่ต้องตรวจสภาพก่อน กำหนดอายุเกินกี่ปี
- รถจักรยานยนต์เกิน 5 ปี
- รถยนต์เกิน 7 ปี *รถติดแก๊สต้องมีใบตรวจแก๊สตัวจริง
ทั้งนี้ผู้ขับขี่ต้องทำพ.ร.บ. รถยนต์ให้เสร็จก่อนต่อภาษีและจะได้รับป้ายภาษีสี่เหลี่ยมมาติดหน้ากระจกรถและหากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบว่าหากรถยนต์คันใดไม่มีป้ายภาษีจะมีโทษปรับอยู่ที่ 400 – 1,000 บาท
การต่อภาษีล่าช้าจะทำให้เสียค่าปรับในอัตราร้อยละ 1 บาทของค่าภาษีรถ แต่หากขาดการต่อภาษีรถเกิน 3 ปี ทะเบียนรถของผู้ขับขี่จะถูกระงับและจะต้องนำป้ายทะเบียนรถไปคืนที่กรมขนส่งทางบกพร้อมชำระค่าปรับที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้ครบครับ
สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ หรือ พ.ร.บ.รถยนต์ สามารถทำได้ที่ ยิ้มได้ประกันภัย เพียงโทร 02-432-2345 หรือ ซื้อผ่าน www.yimdaiinsurance.com เพื่อให้คุณได้ประกันภัยที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับความคุ้มครองดีที่สุด