สังเกตได้ด้วยตนเอง ฟิล์มเสื่อมมีอาการอย่างไร?

January 06, 2023 รถยนต์ สังเกตได้ด้วยตนเอง ฟิล์มเสื่อมมีอาการอย่างไร?

     เป็นเรื่องปกติที่ฟิล์มกรองแสงเมื่อถึงเวลาก็จะต้องเสื่อมสภาพ! เพราะฟิล์มกรองแสงนั้นมีอายุการใช้งานทุกปีแต่เราจะมีวิธีดูแลและมีวิธีเช็คอย่างไรบ้าง ว่าฟิล์มกรองแสงที่ติดในรถยนต์ของเรานั้นเสื่อมคุณภาพ และถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยน ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 5 - 10 ปีนั่นเอง ยิ้มได้ประกันภัยจึงขอแชร์วิธีสังเกต "ฟิล์มกรองแสงเสื่อมสภาพ" ด้วยตนเอง มีอะไรบ้างไปดูเลย

 

ฟิล์มกรองแสง คืออะไร?

     ฟิล์มลามิเนตที่ผลิตมาจากแผ่นโพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต หรือ แผ่นพลาสติกตระกูลโพลีเอสเตอร์ มีคุณสมบัติเหนียว ไร้รอยย่น ยืดหยุ่นน้อย มีความทนทานต่อสภาพอากาศ สามารถยึดเกาะกับเนื้อกระจกได้อย่างเรียบสนิท โดยฟิล์มกรองแสงจะมีการใช้วัสดุเคลือบที่ใช้เพื่อป้องกันความร้อน และป้องกันรังสีต่างๆ ฉะนั้นฟิล์มกรองแสงจึงจะช่วยลความร้อน ลดรังสีอินฟราเรด และรังสียูวีที่เข้ามากระทบได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

ฟิล์มติดรถยนต์ มีกี่แบบ? กี่ประเภท?

1.ฟิล์มรถยนต์ย้อมสี (Dye Film)

 

เป็นฟิล์มกรองแสงที่ผลิตด้วยกระบวนการจุ่มเนื้อพลาสติกด้วยสีย้อม เพื่อให้ฟิล์มรถยนต์เป็นสีดำเข้ม ซึ่งฟิล์มประเภทนี้มีคุณสมบัติในการลดแสงสว่างเท่านั้น ไม่สามารถลดความร้อนได้หรือลดได้เพียงเล็กน้อยยังสามารถป้องกันรังสี UV ได้บ้าง โดยปกติอายุการใช้งานไม่เกิน 3 ปีนะครับ

2.ฟิล์มรถยนต์แบบฉาบไอโลหะ 

(Metallized Evaporation Window Films)

ฟิล์มกรองแสงแบบฉาลไอโลหะ หรือที่เรียกกันว่า “ฟิล์มปรอท” นั้น เป็นฟิล์มกรองแสงที่ถูกเคลือบผิวด้วยไอโลหะประเภทต่างๆ เช่น อลูมิเนียม เงิน ทอง ฯลฯ ซึ่งฟิล์มกรองแสงแบบฉาบปรอทนั้นจะสามารถกันรังสีความร้อนได้มากพอสมควร ผิวฟิล์มจะมีความมันเงา สะท้อนแสงให้ความเป็นส่วนตัว

3.ฟิล์มรถยนต์แบบเคลือบอนุภาคโลหะ (Metal Sputtering Window Films)

ฟิล์มแบบเคลือบอนุภาคโลหะ จะมีกระบวนการผลิตคล้ายๆ ฟิล์มแบบฉาบไอโลหะ โดยการใช้ห้องสุญญากาศที่ออกแบบพิเศษ เคลือบโดยใช้สนามแม่เหล็กดึงประจุจากโลหะ เพื่อนำมาเคลือบบนแผ่นฟิล์ม ทำให้ชั้นโลหะที่ฉาบนั้นเรียงตัวบางกว่า ส่งผลให้ฟิล์มเงาน้อยกว่า มีความใส และสามารถป้องกันรังสีความร้อนได้สูง

4.ฟิล์มรถยนต์นาโน (Nano Window Films)

เป็นฟิล์มที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ ใช้อนุภาคนาโนเคลือบเนื้อฟิล์มแทนโลหะ ทำให้ฟิล์มประเภทนี้มีคุณสมบัติเด่นหลายประการ สามารถป้องกันรังสีความร้อนได้ดีเยี่ยม กัน UV99% เนื้อฟิล์มจะใสเคลีย ไม่สะท้อนแสง ทำให้ทัศนวิสัยดีกว่าฟิล์มทั่วๆ ไป ดำนอกสว่างในและก็มีความทนทานมากกว่าอายุการใช้งานประมาณ 7 - 15 ปี

 

ความเข้มของฟิล์มกรองแสงคืออะไร?

วิธีเลือกฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ ให้เหมาะกับรถของคุณ

     ค่าความเข้ม 40 60 80 จริงๆ แล้วคือปริมาณแสงสว่างส่องผ่านที่ผ่านออกจากฟิล์มกรองแสง โดยทั่วไปแล้วเรามักจะเรียกฟิล์มกรองแสงอยู่ 3 ความเข้ม คือ 40 60 80 นั่นคือ 40 อ่อนสุด 60 เข้มกลางๆ 80 เข้มสูงสุด

ฟิล์มกรองแสงความเข้ม 80 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน (VLT) ได้ประมาณ 5% นั่นหมายความว่า ฟิล์มติดอาคารที่แสงส่องผ่าน 3% 5% 7% ก็จะเรียกว่าเป็นฟิล์มเข้ม 80 เหมือนกัน
ฟิล์มกรองแสงความเข้ม 60 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน (VLT) ได้ประมาณ 15 - 20%
ฟิล์มกรองแสงความเข้ม 40 คือฟิล์มที่ยอมให้แสงส่องผ่าน (VLT) ได้ประมาณ 40%

 

ฟิล์มเสื่อมมีอาการอย่างไร?

 

ฟิล์มเปลี่ยนสี

     เมื่อใช้งานไปนานๆ จะสามารถสังเกตและเช็คดูได้ง่ายๆ ด้วยการดูความเปลี่ยนแปลงของสีฟิล์ม ซึ่งจะสีที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยปกติแล้วฟิล์มกรองแสงจะมีความทึบ ถ้าหากพบว่าเริ่มไม่มีความทึบ หรือเปลี่ยนเป็นสีออกม่วงๆ แสดงว่าฟิล์มกรองแสงนั่นเสื่อมสภาพไปแล้วนั่นเอง

 

ฟองอากาศ

     เป็นอีกหนึ่งวิธีสังเกตที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน ฟิล์มที่เสื่อมสภาพมักจะเกิดเป็นฟองอากาศขึ้นเป็นจุดๆ หรือบางครั้งก้จะแสดงอาการในลักษณะเกิดเป็นรอยย่นๆ

 

อุณหภูมิภายในรถมีความร้อนกว่าปกติ

     โดยสังเกตได้ง่ายๆ คือเมื่อเปิดแอร์แล้วจะรู้สึกว่าอุณหภูมิภายในรถร้อนจนผิดสังเกต ถึงแม้ว่าจะเปิดแอร์ในระดับปกติตรงจุดนี้อย่างเพิ่งเข้าใจผิดว่าแอร์เสียให้ลองสังเกตดูดีๆ เพราะถ้าอาการแอร์เสียมักจะมีแค่ลมออกมาแต่ไม่มีความเย็น ซึ่งหากแอร์ยังใช้งานได้ปกติแต่ภายในรถยังร้อนอยู่ แสดงว่าฟิล์มเสื่อมสภาพแล้วแน่นอน

 

การเกิดภาพซ้อน ภาพมัว ที่กระจกรถ

     เป็นอาการที่บ่งบอกชัดเจนว่าถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนฟิล์มกรองแสงกันใหม่ได้แล้ว ฟิล์มที่สภาพดีอยู่นั้นจะต้องสามารถมองเห็นทัศนียภาพภายนอกได้อย่างชัดเจน แต่หากฟิล์มเกิดอาการมองเห็นเป็นภาพซ้อนและเริ่มมัวๆ เบลอๆ แนะนำให้รีบเปลี่ยนฟิล์มทันทีเพราะอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้

 

     ฟิล์มกรองแสงโดยทั่วไปมีอายุการใช้งานยาวนานราวๆ 5 - 7 ปี จึงทำให้คนใช้รถหลายคนละเลยและหลงลืมเรื่องปัญหาฟิล์มเสื่อมสภาพ นอกจากนี้การเปลี่ยนฟิล์มใหม่แต่ละครั้งก้มีค่าใช้จ่ายไม่น้อย การคอยสังเกตเบื้องต้นจาก 4 ข้อข้างต้นก็สามารถช่วยให้คุณดูแลฟิล์มได้อย่างทันท่วงทีเลยทีเดียว