การขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้านอกจากจะเป็นความผิดในคดีจราจรทางบกแล้ว ยังเป็นความผิดคดีอาญาอีกด้วย ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 43 (7) กำหนดว่า “ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400 - 1,000 บาท ตามมาตรตรา 157”
ในส่วนของคดีอาญา การขี่มอเตอร์ไซค์บนทางเท้า จะมีโทษปรับถึง 5,000 บาท ตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 และที่แก้ไขไปเพิ่มเติม
ตามมาตร 17(2) กำหนดเอาไว้ว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดจอดรถหรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์หรือล้อเลื่อนบนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคารหรือมีประกาศของเจ้าพนักงานจราจรผ่อนผันให้จอดหรือขับขี่ได้ ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามาตรา 56”
กรณีพบตัวผู้กระทำผิด
- ยินยอมเปรียบเทียบปรับ แต่ไม่ชำระค่าปรับ ภายใน 15 วัน
- ไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ
กรณีไม่พบตัวผู้กระทำผิด
- หากออกหนังสือเชิญพบ (2 ครั้ง) ไม่มาพบในกำหนดเวลา
ทั้งนี้ กทม. จะรวบรวมพยานหลักฐานส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักเทศกิจกรุงเทพมหานคร
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คนเดินเท้าทั่วประเทศไทยประสบอุบัติเหตุเฉลี่ยปีละ 2,490 ราย และหากดูเฉพาะพื้นที่ กทม. พบว่า มีคนเดินเท้าประสบอุบัติเหตุเฉลี่ยปีละ 821 ราย โดยจำนวนอุบัติเหตุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากบนทางเท้าจะมีหลุมมีแอ่ง แผ่นปูนกระดกไปมา บางทีก็มีน้ำขัง ในเวลาขับมอเตอร์ไซค์ผ่านอาจทำให้กระดกจนน้ำกระเด็นไปโดนคนที่เดินบนทางเท้า
ทั้งนี้หากประชาชนพบเห็นผู้ที่ฝ่าฝืนจอดรถหรือขับรถบนทางเท้า แจ้งได้ที่www.bangkok.go.th/reward , http://203.155.220.179/reward