ในทุกๆ ปีผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคนย่อมจะต้องดำเนินการเสียภาษีรถประจำปี หรือเรียกกันว่า “การต่อภาษีรถยนต์” หรือ “ต่อทะเบียนรถ” ตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2562 ซึ่งในหมวด 3 ข้อที่ 17 ระบุไว้ว่า “รถทุกคันที่จดทะเบียนแล้ว ต้องเสียภาษีรถประจำปี เว้นแต่รถที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีประจำปี”
ภาษีรถยนต์ คืออะไร?
ภาษีรถยนต์ คือ ป้ายกระดาษสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่ผู้มีรถยนต์ทุกคนต้องจ่ายภาษีรถยนต์ตามที่กฎหมายบังคับ เมื่อถึงกำหนดซึ่งภาษีรถยนต์ที่เราจ่ายไปในทุกปีทางหน่วยงานภาครัฐจะนำไปพัฒนาปรับปรุงถนน รวมไปถึงการคมนาคมภายในประเทศต่อไป ดังนั้นเจ้าของรถยนต์ทุกคนจะต้องทำการต่อภาษีรถยนต์หรือต่อทะเบียนรถยนต์ทุกปี หากปล่อยให้ขาดอาจทำให้ถูกปรับและเสียเวลาในการดำเนินการต่ออีกด้วย
ภาษีรถยนต์แต่ละประเภท
สำหรับรถยนต์แต่ละประเภทนั้นมีกำหนดอัตราค่าภาษี และวิธีจัดเก็บ คำนวณภาษีแตกต่างกันไป ดังนั้น
จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซี.ซี.) ได้แก่
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
จัดเก็บเป็นรายคัน ได้แก่
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
- รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
- รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
- รถพ่วงประเภทอื่นๆ คันละ 100 บาท
- รถบดถนน คันละ 200 บาท
- รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท
จัดเก็บตามน้ำหนัก ได้แก่
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
- รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์บริการ
- รถยนต์รับจ้าง
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถลากจูง รถแทรกเตอร์ที่มิได้ใช้ในการเกษตร
ต่อภาษีรถยนต์ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
ในส่วนของรถยนต์นั่งทั่วไป หรือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งนั้น จะเก็บภาษีตามความจุกระบอกสูบ (ซี.ซี.) ดังนี้
ความจุกระบอกสูบ 600 ซี.ซี. แรก - ซี.ซี.ละ 0.50 บาท |
ความจุกระบอกสูบ 601 - 1,800 ซี.ซี. - ซี.ซี. ละ 1.50 บาท |
ความจุกระบอกสูบ เกินกว่า 1,800 ซี.ซี. - ซี.ซี. ละ 4.00 บาท |
หมายเหตุ: หากเป็นรถของนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ จะต้องเสียภาษีในอัตราสองเท่า
หากเป็นรถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อๆ ไป ดังนี้
ปีที่ 6 ร้อยละ 10 |
ปีที่ 7 ร้อยละ 20 |
ปีที่ 8 ร้อยละ 30 |
ปีที่ 9 ร้อยละ 40 |
ปีที่ 10 และ ปีต่อๆ ไป ร้อยละ 50 |
ต่อภาษีรถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
- คู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริงหรือสำเนา
- หลักฐานการทำประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือที่เรียกว่า พ.ร.บ.
- หากเป็นรถที่เข้าข่ายต้องตรวจสภาพให้นำเข้าตรวจกับสถานตรวจสภาพรถเอกชนให้เรียบร้อยก่อน ได้แก่
- รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
- รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 5 ปีขึ้นไป
- รถที่ติดตั้งแก๊สต้องมีหนังสือรับรองการตรวจสอบและทดสอบตามระยะเวลาที่กำหนด
ต่อภาษีรถยนต์ได้ที่ไหนบ้าง?
ในปัจจุบันเจ้าของรถสามารถดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ได้หลากหลายช่องทาง ดังนี้
- สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ (ไม่ว่ารถของท่านจะจดทะเบียนจังหวัดใดก็ตาม)
- ที่ทำการไปรษณีย์
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru)”
- จุดบริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
- เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
ขอบคุณข้อมูลจาก: กรมการขนส่งทางบก
หากไม่ต่อภาษีรถยนต์จะเป็นยังไง
สำหรับใครหลายคนที่อาจลืมต่อภาษีรถยนต์หรือเสียภาษีรถยนต์ไปบ้างแล้ว ทางกฎหมายจะมีบทลงโทษอยู่ 2 กรณีด้วยกัน คือ รถที่ทะเบียนยังไม่ถูกยกเลิกและรถที่ทะเบียนถูกยกเลิกแล้ว ซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังนี้
1.รถยนต์ที่ขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 1 ปี แต่ยังไม่ถึง 3 ปีในกรณีที่รถยนต์ขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 1 ปี แต่ยังไม่ถึง 3 ปี ทะเบียนจะยังไม่ถูกยกเลิกและสามารถไปเสียค่าภาษีรถยนต์และต่อทะเบียนได้ตามปกติ และมีค่าปรับในการชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังเดือนละ 1 % |
2.รถยนต์ที่ขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปีขึ้นไปสำหรับกรณีที่รถยนต์ขาดต่อภาษีรถยนต์นานเกิน 3 ปีขึ้นไป จะต้องทำการจดทะเบียนใหม่เท่านั้น เนื่องจากป้ายทะเบียนได้ถูกระงับการใช้งานไปแล้ว โดยเจ้าของรถจะต้องนำแผ่นป้ายทะเบียนและเล่มทะเบียนรถไปคืนให้กับทางกรมขนส่งทางบกภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่โดนยกเลิกทะเบียนหากไม่นำไปคืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท แล้วจึงจะสามารถต่อทะเบียนและภาษีรถยนต์ได้ตามปกติพร้อมทั้งเสียค่าปรับภาษีรถยนต์ย้อนหลังเช่นเดียวกัน |
ทั้งนี้ การเสียภาษีรถยนต์แต่ละประเภทจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรับผิดชอบควบคุมกับการใช้งานไปด้วย นอกจากนั้นการเสียภาษียังเป็นอีกทางที่สามารถการันตีได้ว่า รถยนต์สามารถใช้งานได้ดีหรือไม่ ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมควรหมั่นตรวจสภาพรถเป็นประจำเพื่อให้รถยนต์ของท่านสามารถใช้งานได้นาน