พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ หรือ พ.ร.บ. จพ. เป็นกฏหมายที่กำหนดให้รถทุกคันต้องมีประกันติดรถเอาไว้เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
พ.ร.บ. คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
ที่คุ้นเคยกันในรูปแบบของแผ่นสติ๊กเกอร์สี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ติดอยู่ริมกระจกหน้ารถ ซึ่งได้พระราชบัญญัติการจราจรออกกฎหมายบังคับให้ผู้ขับขี่ทุกคนทำ พ.ร.บ.โดยระบุไว้ในปี 2535 ว่า “รถทุกชนิดจะต้องทำประกัน ให้ความคุ้มคองขั้นพื้นฐานในการดูแลรักษาพยาบาล จากการรับผลจากอุบัติเหตุหรือเสียชีวิต โดยจะได้รับความคุ้มครองในรูปแบบของเงินชดเชย และค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด และยังบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องต่อ พ.ร.บ. ใหม่ทุกปี”
เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยขั้นพื้นฐานของประชาชนบนท้องถนนโดยเฉพาะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและเป็นฝ่ายถูกชนและได้รับความเสียหายอย่างหนัก
พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง? | |
1.พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองค่าเสียเบื้องต้นให้ความคุ้มครองแก่ผู้โดยสาร ผู้ขับขี่ และบุคคลอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ ค่าเสียหายในกรณีทุพพลภาพ และค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด | 1.ค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่บาดเจ็บ ได้รับค่าชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท/คน 2.มีการสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร หากมีความรุนแรงถึงขั้นที่มีความเสียหายต่อร่างกายถึงขั้นการสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร บริษัทประกันจะมีการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท/คน 3.กรณีเสียชีวิต เกิดอุบัติเหตุขั้นรุนแรงถึงขั้นก่อให้เกิดการเสียชีวิตขึ้น ทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิตจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท/คน |
2.พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน | 1.ค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่บาดเจ็บ ได้รับค่าชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 85,000 บาท/คน 2.มีการสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร หากมีความรุนแรงถึงขั้นที่มีความเสียหายต่อร่างกายถึงขั้นการสูญเสียอวัยวะ จะได้รับค่าทดแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 200,000 – 500,000 บาท/คน เช่น การสูญเสียนิ้ว ได้รับค่าสินไหมทดแทนที่เฉลี่ย 200,000 บาท การเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับค่าสินไหมทดแทนที่เฉลี่ย 250,000 บาท การเสียอวัยวะ 2 ส่วน ได้รับค่าสินไหมทดแทนที่เฉลี่ย 500,000 บาท และทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับจุดที่สูญเสียอวัยวะ และเงื่อนไขอื่นที่ข้อกฎหมายมีกำหนดไว้ 3.กรณีเสียชีวิต เกิดอุบัติเหตุขั้นรุนแรงถึงขั้นก่อให้เกิดการเสียชีวิตขึ้น ทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิตจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/คน 4.กรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลแบบ “ผู้ป่วยใน” จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท ได้รับรวมกันสูงสุดไม่เกิน 20 วัน |
พ.ร.บ. รถยนต์ ขาดได้กี่วัน! ต้องเสียเงินหรือไม่? อ่านเพิ่มเติม คลิก!
ทำแต่ พ.ร.บ. ไม่ทำประกันภัยรถยนต์ได้หรือไม่?
ในเมื่อมี พ.ร.บ. คุ้มครองแต่ไม่ทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจสามารถทำได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่จำเป็นต้องทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจก็ได้ เพราะว่าไม่มีกฏหมายบังคับให้ต้องทำนั่นเอง แต่ว่าหากทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจด้วยก็จะช่วยเพิ่มความอุ่นใจในการขับขี่ด้วยเช่นกัน เนื่องจากจะคุ้มครองในส่วนของรถยนต์อีกด้วย โดยที่จะช่วยชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น รถชนรถ รถชนเสาไฟฟ้า ฟุตบาท หรือรถชนแบบไม่มีคู่กรณี เป็นต้น
ข้อดีของการทำประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์ถือว่าเป็นอีกสิ่งที่สำคัญกับรถยนต์ของเรามากๆ เพราะไม่เพียงแต่จะคุ้มครองความเสียหายกรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเท่านั้น แต่ยังคุ้มครองครอบคลุมในด้านอื่นๆ อีกด้วย
- ที่เดียวกับจบครบทุกเรื่อง One Stop Service
- การันตีราคาดีที่สุด
- มีบริษัทประกันให้เลือกหลากหลาย
- เลือกผ่อนได้แบบสบาย (บัตรเครดิต หรือ เงินสด)
- ซื้อผ่านออนไลน์ได้ง่ายๆ
- เช็กเบี้ยประกัน ฟรี!
สรุป!
ในเมื่อมี พ.ร.บ. ที่คุ้มครองอยู่แล้ว หากจะต่อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจก็สามารถเลือกได้ด้วยตนเองว่าอยากจะทำหรือไม่ ซึ่งความคุ้มครองของตัวประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจจะดูแลในส่วนของตัวรถยนต์แตกต่างจาก พ.ร.บ. ที่คุ้มครองเฉพาะผู้ประสบภัยเท่านั้น
เช่น หากเกิดอุบัติเหตุ และรถยนต์ได้รับความเสียหายต้องเข้าซ่อม หรือ เกิดไฟไหม้รถก็ตาม หากทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจเอาไว้ก็สามารถสร้างความอุ่นใจให้กับเจ้าของรถได้ เนื่องจากบริษัทฯ ประกัน จะให้ความคุ้มครองในส่วนนี้ด้วย
สำหรับใครที่มองหาประกันภัยรถยนต์ราคาถูก และตรงกับความต้องการ สามารถทำได้ที่ ยิ้มได้ประกันภัย เพียงโทร 02-432-2345 หรือ ซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่าน www.yimdaiinsurance.com เพื่อรับความคุ้มครองที่คุ้มค่าที่สุด
โปรโมชั่น
เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด** | |
โปรโมชั่น
เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด** |