สัญญาณเตือนไม่ไหวอย่าฝืน! เสี่ยงหลับใน

November 15, 2024 รถยนต์ สัญญาณเตือนไม่ไหวอย่าฝืน! เสี่ยงหลับใน

     บ่อยครั้งที่อุบัติเหตุบนท้องถนนมีสาเหตุมาจากการ “หลับใน” ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายอย่าง เช่น การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ การใช้ยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงจำพวกยาแก้แพ้ และการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายมากกว่าเดิม

ภาวะหลับในคืออะไร

     ภาวะหลับในหรือการหลับระยะสั้นๆ เป็นการสับสนระหว่างการหลับและการตื่น โดยการหลับจะเข้ามาแทรกในขณะที่เราไม่รู้ตัวในช่วงเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 - 2 วินาที

สาเหตุของการหลับใน

          อดนอน

 

การที่นอนน้อยหรือว่านอนไม่พอ ต่ำกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะหลับในหรือเกิดความง่วงกระทันหันโดยที่เราไม่รู้ตัว

นอนไม่เป็นเวลา

นอนดึกตื่นสาย จะส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย นอนไม่เต็มอิ่ม เช่น นอนตี 2 ตื่น 6 โมงเป็นต้น

เวลาเข้านอนเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา 

ส่งผลให้สมองงงและเกิดมีความเสื่อม เพราะปกติสมองจะจดจำเวลานอน ถ้าหากเปลี่ยนเวลาเข้านอนบ่อยๆ จะทำให้เวลานอนไม่ง่วง นอนน้อยลง หลับไม่เต็มอิ่ม

กรรมพันธ์ุ

อาจส่งผลให้บางคนอยู่ในกลุ่มนอนยาว (Long Sleepers) ที่มีความต้องการนอนนานถึง 10 ชั่วโมงถึงจะสดชื่น หรือว่า บางคนอยู่ในกลุ่มนอนระยะสั้น (Short Sleepers) เพียง 4 - 5 ชั่วโมง ก็ตื่นมาได้อย่างสดชื่น

 

ความเหนื่อยล้าส่งผลต่อการขับขี่อย่างไร?

     ความเหนื่อยล้ามีผลต่อการขับขี่ทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจรทั่วโลกมาจาก “อาการง่วง” เนื่องจากคนง่วงจะมีประสิทธิภาพในการขับรถคล้ายกับคนเมา และผลจากความง่วง มีโอกาสวูบหลับได้ในเวลาเพียงแค่ 3 - 5 วินาที ก็สามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาได้

      นอกจากจะส่งผลต่อตนเองและยังส่งผลต่อทรัพย์สินของผู้อื่นอีกด้วย เพราะฉะนั้นการพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อป้องกันสาเหตุการหลับในแล้วยังป้องกันความเสี่ยงจากความเสียหายที่เกิดขึ้นอีกด้วย

 

 

วิธีป้องกันการหลับในขณะขับรถ

  • พักผ่อนให้เพียงพอ: ก่อนออกเดินทาง ควรนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการขับรถในช่วงเวลาง่วงนอน: หากรู้สึกง่วงนอน ควรหลีกเลี่ยงการขับรถ หรือหาสถานที่จอดรถพักผ่อน
  • ปรับสภาพแวดล้อมในรถ: เปิดหน้าต่างรถรับอากาศ หรือเปิดเพลงเสียงดังพอประมาณ เพื่อช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า
  • ดื่มน้ำบ่อยๆ: การดื่มน้ำจะช่วยให้ร่างกายสดชื่นและไม่รู้สึกง่วงนอน
  • รับประทานอาหารให้พอเหมาะ: การรับประทานอาหารมากเกินไปหรืออดอาหาร จะทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้
  • หยุดพักเป็นระยะ: ทุกๆ 2 ชั่วโมง หรือเมื่อรู้สึกง่วงนอน ควรหาที่จอดรถพักผ่อนสัก 15-30 นาที
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์: แอลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายและง่วงนอน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้ง่วงซึม: หากจำเป็นต้องใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  • เดินทางร่วมกับเพื่อน: การมีเพื่อนร่วมเดินทางจะช่วยให้ไม่รู้สึกเบื่อและง่วงนอน
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ: การตรวจสุขภาพเป็นประจำจะช่วยตรวจพบโรคที่อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้

สัญญาณเตือนอาการหลับใน

  1. หาวบ่อยๆ และหาวในเวลาใกล้เคียงกัน
  2. ลืมตาไม่ขึ้น ปวดตา ตาล้า มองเห็นภาพไม่ชัด
  3. รู้สึกหนักศีรษะ เหนื่อยล้า หงุดหงิด กระวนกระวาย
  4. ใจลอย ไม่มีสมาธิ ไม่เห็นไฟจราจรเปลี่ยนไป หรือทำผิดป้ายจราจร
  5. จำไม่ได้ว่าขับรถผ่านอะไรมาบ้าง ในช่วง 2-3 กิโลเมตรก่อน
  6. ขับรถส่ายไป-มา ขับออกนอกเลน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ขับขี่ปลอดภัย by DLT

สรุป…

การป้องกันการหลับในขณะขับรถเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้ การปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น จะช่วยให้คุณขับขี่ได้อย่างปลอดภัยและถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย

หากคุณรู้สึกง่วงนอนขณะขับรถ ควรหาที่จอดรถปลอดภัย และพักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนจะเดินทางต่อ

 

สำหรับใครที่มองหาประกันภัยรถยนต์ราคาถูก และตรงกับความต้องการ สามารถทำได้ที่ ยิ้มได้ประกันภัย เพียงโทร 02-432-2345 หรือ ซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่าน www.yimdaiinsurance.com เพื่อรับความคุ้มครองที่คุ้มค่าที่สุด