ผู้ขับขี่ท่านใดเคยโดนค่าปรับจราจรบ้างครับ ในปัจจุบันปี 2565 ซึ่งมีการใช้อัตราค่าปรับที่มีมาแต่เดิมตั้งแต่ พ.ศ.2564 เป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์จะต้องรู้ สำหรับอัตราค่าปรับจราจรเฉพาะในข้อกฎหมายที่เหล่าผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์พบเจอบ่อยๆ มีดังนี้ครับ
ค่าปรับจราจร ที่ควรรู้!
ข้อหา | ค่าปรับ (บาท) |
ไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย | 1,000 |
ไม่ติดป้ายทะเบียนรถ | 1,000 |
คนซ้อนไม่สวมหมวกกันน็อก | 800 |
ขับรถบนทางเท้า | 500 |
ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ | 500 |
ขับรถเร็วเกินกำหนด | 500 |
ฝ่าฝืนเครื่องหมายและสัญญาณไฟจราจร | 500 |
ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ไม่สวมหมวกกันน็อก | 400 |
ไม่พกใบขับขี่ | 200 |
ดังนั้น การขับขี่มอเตอร์ไซค์ในแต่ละครั้งควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อบังคับและกฎหมายต่างๆ ที่มีการประกาศใช้ด้วย รวมไปถึงผู้ที่ขับขี่ รถมอเตอร์ไซค์ ที่จำเป็นต้องเรียนรู้กฎหมายจราจร เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัยและมอบความสบายใจให้กับผู้ร่วมใช้เส้นทางด้วยนะครับ
กฎหมายเบื้องต้น ที่ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ต้องรู้
1.รถจักรยานยนต์ให้บรรทุกของไม่เกิน 50 กิโลกรัม และ นั่งซ้อนท้ายได้เพียง 1 คนเท่านั้น |
2.ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วของรถจักรยานยนต์ตามกฎหมายจราจร ในเขต กทม. / เมืองพัทยา / เขตเทศบาลไม่เกิน 80 กม./ชม. นอกเขตไม่เกิน 90 กม./ชม. แต่หากเครื่องหมายจราจรกำหนดความเร็วไว้ผู้ขับขี่จะต้องขับรถไม่เกินอัตรา ความเร็วที่กำหนด |
3.ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณด้วยมือ หรือแขน หรือไฟสัญญาณก่อนที่จะเลี้ยวรถเปลี่ยนช่องทางเดินรถ ลดความเร็วของรถ หยุดรถหรือจอดรถเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร |
4.เมื่อจะเลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องใช้ไฟสัญญาณกระพริบที่ติดอยู่ท้ายรถ ไปในทิศทางที่จะเลี้ยวหรือเปลี่ยนช่องทางเดินรถ |
5.เมื่อจะให้รถคันอื่นแซงหรือผ่านขึ้นหน้า ผู้ขับขี่ต้องให้ไฟสัญญาณกระพริบที่ติดอยู่ท้ายรถหรือทางด้านซ้ายของรถ |
6.ในการใช้ทางเดินรถผู้ขับขี่จะต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถชน หรือโดนคนเดินเท้าไม่ว่าจะอยู่ ณ ส่วนใดของทาง และต้องให้สัญญาณเตือนคนเดินเท้าให้รู้ตัวเมื่อจําเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก คนชราหรือคนพิการที่กําลังใช้ทาง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ |
7.ในการขับขี่รถ ผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
|
8.เมื่อขับรถสวนกัน ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดซ้ายของทางเดินรถ โดยให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถเป็นหลัก แต่ถ้าทางเดินรถใดได้จัดแบ่งเป็นช่องเดินรถไว้ให้ถือเส้นหรือแนวที่แบ่งเป็นหลัก |
9.ในทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนกันได้โดยปลอดภัย เมื่อขับรถสวนกับผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันที่ใหญ่กว่า ต้องหยุดรถให้ชิดขอบทางเดินรถด้านซ้าย เพื่อให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันที่เล็กกว่าผานไปได้ |
การขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย
การขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ปลอดภัยนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอีกอย่างที่ผู้ขับขี่ควรทราบและนำไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประโยชน์และความปลอดภัยมากที่สุด โดยหลักพื้นฐานง่ายๆ ดังนี้
- ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร สวมหมวกกันน็อคทุกครั้งเวลาขับขี่หรือซ้อนท้าย
- ตรวจเช็คระบบเบรก ยาง ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
- อย่าขับขี่รถจักรยานยนต์ สวนทางหรือข้ามช่องทางจราจร
- ลดความเร็วลงทุกครั้งเมื่อผ่านถนนขรุขระหรือถนนเปียกลื่น
- บริเวณสี่แยกควรหยุด หรือชะลอความเร็วของรถลงเสียก่อน
การใช้รถใช้ถนนไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ จักรยานยนต์ หรือแม้แต่รถจักรยาน ย่อมควรปฏิบัติตามกฎระเบียบในการใช้รถใช้ถนนให้เป็นมาตรฐานเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความปลอดภัยเพื่อช่วยลดอุบัติเหตุพร้อมทั้งเพิ่มวินัยจราจร และที่สำคัญทำให้ปัญหารถติดลดลงอีกด้วยนะครับ