ใบขับขี่ หรือ ใบอนุญาตขับขี่ คือเอกสารสำคัญที่ยืนยันว่าผู้ใช้ถนนได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ ให้สามารถใช้รถประเภทต่างๆ ได้ตามกฎหมายนะครับ ซึ่งรู้หรือไม่ว่าใบขับขี่ที่มีนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่คิด ยิ้มได้ประกันภัย จึงได้นำข้อควรรู้! เกี่ยวกับใบขับขี่ มาฝากกันครับ
ข้อควรรู้! เกี่ยวกับใบขับขี่
1.ใบขับขี่หาย ไม่ต้องแจ้ง
สำหรับผู้ที่ทำใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลหาย ไม่จำเป็นต้องไปแจ้งความ สามารถติดต่อที่สำนักงานกรมการขนส่งทางบกในพื้นที่อาศัย เพื่อขอทำใบขับขี่ใหม่ได้เลย ทั้งนี้ ผู้ขับขี่ยังสามารถใช้ใบขับขี่ดิจิทัลแบบชั่วคราวผ่านแอปพลิเคชัน DLT QR LICENCE เพื่อใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ระหว่างรอใบขับขี่ใบใหม่ได้อีกด้วย
2.สอบใบขับขี่ ต้องมีบัตรประชาชนตัวจริง
การขอรับใบอนุญาตขับขี่ มีเอกสารที่จะต้องมีและขาดไม่ได้ หนึ่งในนั้นคือ บัตรประชาชนตัวจริง เพื่อใช้ยืนยันกับเจ้าหน้าที่ ดังนั้นใครที่ทำบัตรประชาชนหาย หรือชำรุด จะต้องดำเนินการใหม่ที่สำหนักงานเขตให้เรียบรอยก่อนเท่านั้น ไม่สามารถนำใบแจ้งความหรือสำเนาบัตรประชาชนมาทดแทนกันได้
3.ไม่จำเป็นต้องมีรถยนต์ไปสอบปฏิบัติ
ขั้นตอนการสอบใบขับขี่รถยนต์ เมื่อผ่านการอบรมแล้ว และทำข้อสอบเรียบร้อยแล้ว ผู้ขับขี่ยังต้องสอบปฏิบัติเพื่อประเมินด้วยแต่โดยส่วนใหญ่จะนำรถมาเอง และส่วนน้อยจะไม่ทราบว่า ที่สำนักงานขนส่งทางบกจะมีบริการให้เช่ารถ เช่นกัน โดยมีอัตราค่าบริการประมาณ 100 บาท/ครั้ง ทั้งนี้ แต่ละเขตพื้นที่อาจมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป
4.ใบขับขี่ไม่สามารถทำได้ในวันเดียว
การสอบใบขับขี่ในปัจจุบัน มีข้อกำหนดที่เพิ่มมากขึ้น จากในอดีตที่สามารถอบรมรวมถึงสอบ และรับใบขับขี่ได้เลยใน 1 วัน ปัจจุบันผู้ขับขี่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 วัน โดยมีขั้นตอนดังนี้
วันที่ 1 |
หากการทดสอบข้อใดข้อหนึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ ผู้ขับขี่จะต้องมาทดสอบใหม่ในวันรุ่งขึ้น |
วันที่ 2 |
|
5.ต่อใบขับขี่2565 ควร จองคิวต่อใบขับขี่ ทางออนไลน์
กรมการขนส่งทางบกแนะนำบริการต่อใบอนุญาตขับขี่ โดยให้ผู้ขับขี่จองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue เพื่อความสะดวกสบายในการรับบริการ นอกจากนี้ ยังมีช่องทางอื่น ๆ เช่น จองผ่านเว็บไซต์ https://gecc.dlt.go.th/ หรือตู้กดบัตรคิวอัตโนมัติ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดแต่ละพื้นที่ ผู้ขับขี่สามารถเลือกได้ตามสะดวก
6.ไม่ต้องพกใบขับขี่ตัวจริงได้แล้ว
จบปัญหาการลืมใบขับขี่ แค่โหลดแอปพลิเคชัน DLT QR Licence เพื่อใช้งานใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ ก็ไม่จำเป็นต้องพกใบขับขี่ตัวจริงแล้ว ทั้งนี้ ยังสามารถใช้สำเนาใบขับขี่ หรือภาพถ่ายที่มีแทนได้เช่นกัน โดยจะต้องเห็นข้อมูลบนบัตรที่ชัดเจนเท่านั้น
7.บุคคลที่ไม่มีสิทธิ์สอบใบอนุญาตขับขี่
ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถสอบใบขับขี่ หรือได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ ตามข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก สามารถแบ่งบุคคลที่ไม่มีสิทธิ์สอบใบอนุญาตขับขี่ ได้ดังนี้
รวมถึงผู้ที่เป็นโรคที่มีความเสี่ยงได้ทั้งหมด 5 โรคดังต่อไปนี้
|
8.ใบขับขี่แบบใหม่ใช้แทน ใบขับขี่สากลได้
การท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ต้องการเช่ารถเพื่อเป็นพาหนะในการเดินทาง จำเป็นต้องมีใบขับขี่ระหว่างประเทศ ควบคู่กับใบขับขี่ภายในประเทศด้วย ยกเว้นประเทศกลุ่ม AEC ผู้ขับขี่สามารถขับรถออกนอกประเทศอย่างถูกต้องตามกฏหมาย เพียงใช้ใบขับขี่แบบใหม่ชนิดสมาร์ตการ์ดใบเดียวเท่านั้น
9.ใบขับขี่หมดอายุ ไม่เกิน 1 ปี รับบัตรใหม่ได้เลย
การต่อใบขับขี่ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ใบขับขี่หมดอายุ สามารถดำเนินการขอรับใบใหม่ได้โดยไม่จำเป็นต้องอบรม หรือสอบใหม่ ส่วนผู้ที่ใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี จะต้องผ่านการสอบข้อเขียนให้คะแนนผ่านร้อยละ 90 จากคะแนนสอบทั้งหมด และใบขับขี่ที่หมดอายุเกิน 3 ปี จะต้องผ่านการสอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ และต้องใช้ใบรับรองแพทย์ประกอบการขอต่ออายุใบขับขี่อีกด้วย
เมื่อได้ทราบ “ข้อควรรู้! เกี่ยวกับใบขับขี่” แล้ว การเตรียมตัวสอบใบขับขี่ก็มีความสำคัญเช่นกัน ซึ่งใบขับขี่ก็มีหลายประเภทแตกต่างกันไปตามการใช้งานและประเภทของรถต่างๆ
ใบขับขี่มีกี่ประเภท? แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?
- ใบขับขี่ประเภท บ. (ส่วนบุคคล) : คือใบอนุญาตให้ขับขี่ขนส่งสำหรับการใช้งานแบบส่วนบุคคลรวมถึงสามารถใช้เคลื่อนย้าย หรือทำการส่งเพื่อการค้าได้เช่นเดียวกัน (เฉพาะธุรกิจส่วนตัว) แต่จำกัดน้ำหนักการขนส่งไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม และต้องไม่ใช่การรับจ้าง
- ใบขับขี่ประเภท ท. (ทุกประเภท) : คือใบอนุญาตให้ขับขี่ขนส่งสำหรับการใช้งานได้ทุกประเภท สามารถใช้เคลื่อนย้าย หรือทำการขนส่งเพื่อการค้าได้โดยไม่จำกัดน้ำหนักการขนส่ง รวมถึงใช้เพื่องานรับจ้างได้
- ใบขับขี่รถยนต์ชนิดชั่วคราว
เป็นใบขับขี่ใบแรกสุดที่จะได้รับจากการทำใบขับขี่ โดยจะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า และค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าใบขับขี่แบบทั่วไป เรียกได้ว่าเป็นใบผ่านทางก่อนที่จะได้ใบขับขี่ โดยใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราว สามารถจำแนกได้ 3 แบบ ดังนี้
ใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราวอายุการใช้งาน: 2 ปี อัตราค่าธรรมเนียม: 100 บาท |
ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ (รถตุ๊กตุ๊ก) ชั่วคราวอายุการใช้งาน: 2 ปี อัตราค่าธรรมเนียม: 50 บาท |
ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวอายุการใช้งาน: 2 ปี อัตราค่าธรรมเนียม: 50 บาท |
- ใบขับขี่รถยนต์ทั่วไป
หากคุณใช้งานใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราวจนคราบอายุการใช้งานแล้ว ในครั้งต่อไปที่ทำการต่ออายุใบขับขี่ คุณจะได้รับใบขับขี่รถยนต์แบบใช้งานยาวๆ 5 ปี โดยแบ่งได้ 2 แบบ ดังนี้
ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลอายุการใช้งาน: 5 ปี อัตราค่าธรรมเนียม: 500 บาท |
ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะอายุการใช้งาน: 3 ปี อัตราค่าธรรมเนียม: 300 บาท |
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์
สำหรับรถจักรยานยนต์ หรือรถมอเตอร์ไซค์ ก็มีเงื่อนไขเช่นเดียวกับใบขับขี่รถยนต์ เมื่อใช้งานใบขับขี่ประเภทชั่วคราวจนครบอายุการใช้งานก็ต้องต่ออายุเช่นเดียวกัน สามารถแบบได้ 2 แบบ ดังนี้
ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลอายุการใช้งาน: 5 ปี อัตราค่าธรรมเนียม: 250 บาท |
ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะอายุการใช้งาน: 3 ปี อัตราค่าธรรมเนียม: 150 บาท |
หากทราบกันแล้วว่าใบขับขี่มีกี่ประเภท ก็อย่าลืมดูถึงความปลอดภัยบนท้องถนนทั้งตัวผู้ขับขี่และคนรอบข้าง เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การมีประกันภัยรถยนต์ติดรถเอาไว้ก็สามารถช่วยคุ้มครองรถของคุณได้ด้วยนะครับ
สำหรับใครที่มองหาประกันภัยรถยนต์ราคาถูก และตรงกับความต้องการ สามารถทำได้ที่ ยิ้มได้ประกันภัย เพียงโทร 02-432-2345 หรือ ซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่าน www.yimdaiinsurance.com เพื่อรับความคุ้มครองที่คุ้มค่าที่สุด