การใช้รถใช้ถนนต่างก็มีกฏหมายที่ต้องบังคับใช้กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นมารยาทในการขับขี่ ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนนทุกท่าน และยังช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย โดยผู้ขับขี่ส่วนใหญ่สิ่งที่ชอบละเลยมากที่สุดคือ การเปิดไฟเลี้ยว บางท่านนึกอยากจะเลี้ยวก็เลี้ยว หรืออยากจะจอดก็จอด โดยที่ไม่คำนึงถึงผู้ขับขี่ที่ขับตามมาด้านหลัง อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
ไฟเลี้ยวรถยนต์…
เปรียบเหมือนกับสิ่งที่ต้องใช้สื่อสารกับผู้ใช้รถใช้ถนนท่านอื่นเพื่อเป็นการบอกถึงเจตนาในการขับขี่ว่าจะเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา หรือการเปลี่ยนเลน เพราะจะช่วยทำให้ผู้อื่นได้เตรียมปฏิบัติตามอย่างเหมาะสม และลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้
หน้าที่หลักของไฟเลี้ยว
- ไฟเลี้ยวทำหน้าที่บอกให้รถคันอื่นๆ: ทราบว่ารถคันนี้กำลังจะเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยวเข้าซอยซึ่งเป็นการสื่อสารที่ทั้งเจ้าของรถและผู้ตามเข้าใจตรงกัน
- ป้องกันอุบัติเหตุ: การเปิดไฟเลี้ยวล่วงหน้าช่วยให้รถคันอื่น เตรียมตัวได้ทันและปรับทิศทางในการขับขี่ได้อย่างปลอดภัย
- รักษาระเบียบการจราจร: การเปิดไฟเลี้ยวตามกฏจราจร ช่วยให้การจราจรเป็นไปอย่างมีระเบียบและปลอดภัย
ก่อนเลี้ยวรถ ควรเปิดไฟเลี้ยวกี่เมตร?
ตามกฎหมายจราจรของไทย กำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟเลี้ยวก่อนที่จะเลี้ยวเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร เพื่อให้รถคันอื่นๆ ที่ตามมาด้านหลัง มีเวลาเพียงพอในการรับรู้และตอบสนองต่อการเปลี่ยนเส้นทางในการขับขี่รถของคุณ
ทำไมต้องเปิดไฟเลี้ยวก่อน 30 เมตร
- เพื่อความปลอดภัย: การเปิดไฟเลี้ยวล่วงหน้าจะช่วยให้รถคันอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ได้มีเวลาเตรียมตัวและปรับเปลี่ยนทิศทางในการขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุจากการชนท้าย หรือการเปลี่ยนเลนกระทันหัน
- เพื่อให้สัญญาณเตือน: การเปิดไฟเลี้ยวเป็นการสื่อสารกับผู้ร่วมใช้ถนนคนอื่นๆ ว่าคุณกำลังจะเปลี่ยนทิศทางในการขับขี่ ช่วยให้การจราจรเป็นไปอย่างราบรื่นและมีระเบียบ
- เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย: การไม่เปิดไฟเลี้ยวก่อนเลี้ยว ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎจราจร อาจถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจและปรับตามกฎหมายได้
สิ่งที่ควรระวังนอกจากการเปิดไฟเลี้ยวก่อน 30 เมตร
- ตรวจสอบกระจกมองข้าง: ก่อนเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยวรถ ควรตรวจสอบกระจกมองข้างให้รอบคอบ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีรถคันอื่นอยู่ในจุดอับสายตา
- ลดความเร็ว: เมื่อต้องการเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยวรถ ควรลดความเร็วลง เพื่อให้สามารถควบคุมรถได้ง่ายขึ้น
- ให้สัญญาณไฟเลี้ยวอย่างต่อเนื่อง: ควรเปิดไฟเลี้ยวอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะเลี้ยวเสร็จสิ้น
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนเลนกระทันหัน: การเปลี่ยนเลนกระทันหัน อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ควรเปลี่ยนเลนอย่างค่อยเป็นค่อยไป
กรณีแซงเส้นทึบผิดกฏหมาย?
ในขณะขับขี่รถอยู่บนถนน ถ้าสังเกตจะเห็นเส้นปะและเส้นทึบที่แบ่งช่องจราจร โดยเส้นปะจะสามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางจราจรเพื่อทำการแซงรถได้ แต่ถ้าเป็นเส้นทึบจะไม่ให้แซง เพราะเสี่ยงทำให้เกิดอันตรายต่อรถที่ขับสวนทางมา
หากแซงบริเวณส้นทึบจะถือว่า กระทำผิดกฏหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 อัตราโทษปรับไม่เกิน 400 - 1,000 บาท
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
สรุป…
ตามกฏหมายกำหนดควรเปิดสัญญาณไฟเลี้ยว ก่อนเลี้ยว 30 เมตร เพื่อให้รถคันอื่นเห็นสัญญาณไฟในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร นอกจากนี้หลายท่านอาจจะเคยชิน เช่น การขับรถเลี้ยวซ้ายผ่านตลอด แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อเห็นป้าย “เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด” ควรที่จะหยุดรอให้คนข้ามถนนและรถที่มาจากทางด้านขววามือขับผ่านไปก่อน
- ศึกษาสัญญาณจราจร: การทำความเข้าใจสัญญาณจราจรต่างๆ จะช่วยให้คุณขับขี่รถได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
- เข้าร่วมอบรมการขับขี่: การเข้าร่วมอบรมการขับขี่เป็นระยะ จะช่วยให้คุณมีทักษะการขับขี่ที่ดีขึ้น และมีความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรที่เป็นปัจจุบัน
- ตรวจสอบสภาพรถยนต์: ควรตรวจสอบสภาพรถยนต์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยเฉพาะระบบเบรกและไฟสัญญาณต่างๆ