ฝุ่น PM2.5 ถือว่ายังคงเป็นปัญหาที่มีมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าฝุ่นที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นพิเศษเนื่องจากช่วงที่อากาศหนาวทำให้อากาศนิ่งและแห้ง ส่งผลให้ฝุ่นไม่ลอยขึ้นที่สูง และยังมีฝุ่นละอองจากการก่อสร้างจำนวนมากทำให้คุณภาพอากาศเลวร้ายและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอีกด้วย
ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร?
ฝุ่น PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ไมครอน หรือเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งฝุ่นละอองขนาดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือด ส่งผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้นะครับ
ผลกระทบต่อสุขภาพ..
- ระบบทางเดินหายใจ : ฝุ่น PM 2.5 สามารถทำให้เกิดอาการรคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม คัดจมูก หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หอบหืด โรคปอดอักเสบเรื้อรัง และมะเร็งปอด
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด : ฝุ่น PM 2.5 สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ และความดันโลหิตสูง
- ระบบอื่นๆ : ฝุ่น PM 2.5 ยังอาจส่งผลต่อระบบอื่นๆ ในร่างกาย เช่น ผิวหนัง ดวงตา สมอง และระบบภูมิคุ้มกัน
หยุด! พฤติกรรมขับรถไม่ตามกฎจราจร เสี่ยงอันตราย อ่านเพิ่มเติม คลิก!
การสัมผัสฝุ่น PM2.5 | |
การสัมผัสในระยะสั้น | การสัมผัสในระยะยาว |
|
|
กลุ่มเสี่ยง..
กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ได้แก่
- เด็กเล็ก
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคปอด
- หญิงตั้งครรภ์
วิธีป้องกัน..
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่มีฝุ่น PM 2.5 สูง
- สวมหน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่น PM 2.5
- ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด
- ใช้เครื่องฟอกอากาศ
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินหายใจ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: กรมควบคุมโรค