จากประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13 ) พ.ศ. 2565 มีข้อบังคับที่น่าสนใจ โดยที่ผู้ใช้รถใช้ถนนควรรู้ เพราะต่อไปคนนั่งต้องคาดเข็มขัดตลอดการเดินทาง เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารไม่คาดเข็มขัดนิรภัยมีโทษปรับ 2 พันบาท มีผลบังคับใช้ในอีก 120 วัน
ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายและการจัดระเบียบการจราจรทางบกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์แก่ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยและสวัสดิภาพของประชาชน
โดย พ.ร.บ. จราจรทางบกฉบับนี้บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หรือมีผลบังคับใช้ในอีก 4 เดือนข้างหน้า หรือประมาณวันที่ 5 กันยายน 2565 ยิ้มได้ประกันภัย จะพาไปดูข้อกฎหมายเพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถรู้เท่าทันในการใช้รถใช้ถนนได้ถูกต้อง
มาตรา 35 | รถที่ขับช้ากว่ารถคันอื่นให้ขับชิดขอบทางเดินรถฝั่งซ้ายเท่าที่จะทำได้ ให้เดินรถทางขวาของทางเดินรถได้ตามที่จำ |
มาตรา 43
|
|
มาตรา 123
| ในการขับรถยนต์ ผู้ขับขี่และผู้โดยสารต้องรัดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่อยู่ในรถ ผู้โดยสารที่อายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่งในที่นั่งนิรภัย (คาร์ซีท) และผู้โดยสารที่สูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดเข็มขัดไว้กับที่นั่ง |
มาตรา 123/1
|
|
มาตรา 123/2
| ไม่ให้ขับรถยนต์ขณะที่มีผู้โดยสารนั่งเบาะหน้าเกิน 2 คน หรือคนนั่งเบาะหน้า (1 คน) ไม่รัดเข็มขัด |
มาตรา 123/3
| รถยนต์สาธารณะ หรือมีการขนส่งผู้โดยสาร ต้องมีวิธีการแจ้งเตือนให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดทุกครั้งก่อนออกรถ |
มาตรา 134
| ห้ามมีการแข่งรถบนถนนสาธารณะ หรือรวมกลุ่มกันโดยมีรถตั้งแต่ 5 คันขึ้นไป เพื่อแข่งรถ หรือมีการดัดแปลง ปรับแต่งรถให้มีสภาพไม่ถูกต้อง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร |
มาตรา 134/1
| ห้ามจัดโฆษณา ชักชวน หรือทำทุกวิธีเพื่อให้มีการจัดการแข่งรถบนถนน หากไม่ได้รับอนุญาต |
มาตรา 134/2
| หากนำรถที่มีการดัดแปลงสภาพไม่ถูกต้อง ใช้บนถนนถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และหากนำรถที่ดัดแปลงไปแข่งขันโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ถือว่า เป็นผู้สนับสนุนการแข่งรถ ยกเว้นจะพิสูจน์ได้ว่า ไม่มีส่วนรู้เห็น |
มาตรา 143
| หากฝ่าฝืนนำรถที่มีการดัดแปลงให้มีลักษณะไม่ถูกต้องไปใช้บนถนนโดยไม่รับอนุญาต เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการ ดังนี้ หากรถมีสภาพไม่ถูกต้อง อาจเกิดอันตราย ให้ตำรวจสั่งห้ามใช้รถ และนำออกจากทางที่มีรถสัญจรโดยเร็วที่สุด หากไม่ทำตาม ให้เจ้าหน้าที่ทำการเคลื่อนย้ายรถได้ หากรถมีสภาพที่ไม่ถึงกับไม่ปลอดภัยในการขับขี่ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สั่งระงับการใช้รถชั่วคราว โดยให้เจ้าของรถนำรถไปปรับปรุงให้ถูกต้องตามกฎหมายตามเดิม ภายในระยะเวลาที่กำหน ดหรือไม่น้อยกว่า 15 วัน และไม่เกิน 60 วัน |
มาตรา 143/1
| ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ติดเครื่องหมายคำสั่งห้ามใช้รถ ไว้บนรถที่ดัดแปลงสภาพจนดูไม่แข็งแรงและอาจเกิดอันตราย และได้รับคำสั่งห้ามใช้รถบนถนน แต่หากเป็นรถที่มีคำสั่งห้าม แต่ยังมีสภาพที่สามารถขับได้ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดคำสั่งห้ามใช้รถบนนถนน ที่ระบุระยะเวลาสิ้นสุดการอนุญาตใช้รถชั่วคราวไว้ด้วย |
มาตรา 143/2
| เมื่อมีการสั่งห้ามใช้รถที่มีสภาพดัดแปลงเป็นการชั่วคราวแล้ว ให้แจ้งไปยังนายทะเบียนกรมขนส่งทางบก เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป แต่หากมีการซ่อมแซม ปรับปรุง ตรวจสภาพตามกฎหมายแล้ว ให้นายทะเบียนปลดเครื่องหมายคำสั่งห้ามใช้รถชั่วคราวนั้นได้ มาตรา 16 ให้ยกเลิกมาตรา 144 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 |
มาตรา 145
| บรรดาความผิดจากความผิดที่กำหนดโทษให้พนักงานสอบสวนพิจารณา ความอาญามีอำนาจเปรียบเทียบหรือว่ากล่าวตักเตือนได้ |
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก: ราชกิจจานุเบกษา (ฉบับที่ 13)
กรมการขนส่งทางบก ได้เปิดเผยข้อควรรู้เกี่ยวกับการคาดเข็มขัดนิรภัยโดยระบุว่าหากผู้ขับขี่ หรือ ผู้โดยสารไม่คาดเข็มขัดนิรภัย จะมีความผิดตามกฏหมาย ดังต่อไปนี้
รถยนต์ส่วนบุคคล รถกระบะ รถแท็กซี่ คนขับ หรือผู้โดยสาร |
|
รถตู้สาธารณะ รถทัวร์ รถบขส. รถบรรทุก |
|
หากคนขับรถทุกประเภทไม่จัดให้ผู้โดยสารคาดเข็มขัดนิรภัย |
|
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก
เข็มขัดนิรภัยช่วยป้องกันภัยอย่างไรบ้าง?
หลายท่านอาจสงสัยว่า เพียงแค่คาดเข็มขัดนิรภัยจะช่วยลดการบาดเจ็บหรือช่วยชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนได้อย่างไร คำตอบก็คือ เข็มขัดนิรภัยถูกออกแบบมาให้คาดผ่านส่วนที่แข็งแรงที่สุดของร่างกายไว้อย่างตรงส่วนสะโพกและหัวไหล่ จึงทำให้เข็มขัดสามารถกระชับและประคองร่างกายได้เป็นอย่างดีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
โดยเข็มขัดนิรภัยมีประโยชน์ ดังนี้
- ช่วยไม่ให้คนภายในรถกระเด็นออกไปนอกตัวรถจากแรงกระแทกหรือแรงเหวี่ยง
- ช่วยกระจายแรงกระแทกที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ช่วยป้องกันศีรษะหรือร่างกายส่วนบนเวี่ยงไปมากระแทกกับพวงมาลัยหรือบริเวณแผงหน้ารถ เป็นต้น
- ชวยให้ร่างกายเคลื่อนไหวช้าลง เพื่อลดอาการบาดเจ็บ เพราะการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหันจากแรงกระแทกอาจทำให้บาดเจ็บรุนแรง
- ช่วยป้องกันสมองและกระดูกสันหลังจากอันตราย เพราะหากศีรษะได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง อาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
วิธีคาดเข็มขัดนิรภัยให้ถูกต้อง
แม้เข็มขัดนิรภัยจะช่วยลดการบาดเจ็บหรือช่วยชีวิตจากอุบัติเหตุได้ แต่หากไม่เรียนรู้หรือศึกษาวิธีการใช้งานให้ถูกต้อง ก็อาจทำให้เข็มขัดนิรภัยทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือเกิดอันตรายต่อร่างกายได้
โดยวิธีการคาดเข็มขัดนิรภัยอย่างถูกต้อง มีดังนี้
- คาดเข็มขัดนิรภัยเส้นบนให้พาดผ่านไหล่ ห้ามคาดผ่านบริเวณคอ
- คาดเข็ดขัดนิรภัยเส้นล่างให้พาดผ่านหน้าขา ห้ามคาดผ่านบริเวณหน้าท้อง
- คาดเข็มขัดนิรภัยเสมอเมื่อเดินทาง
- เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ควรนั่งในคาร์ซีท หรือนั่งเบาะหลัง ซึ่งผู้ปกครองควรดุแลให้เด็กนั่งในท่าทางที่เหมาะสมและสบายตลอดเวลาการเดินทาง
อันตรายจากการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
เข็มขัดนิรภัยถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับตัวผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถยนต์ ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุ เข็มขัดนิรภัยจะช่วยรั้งผู้ขับขี่ หรือ ผู้โดยสารให้ติดกับเบาะที่นั่งเอาไว้ ไม่ให้กระเด็นออกนอกตัวรถหรือตัวไม่ไปกระแทกกับส่วนอื่นของรถยนต์ และอันตรายที่ได้จากการไม่คาดเข็มขัดมีดังนี้
- แรงกระแทกจากการชนที่เกิดจากรถที่วิ่งเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเท่ากับรถที่ตกจากที่สูง 14 เมตร หรือสูงประมาณตึก 5 ชั้นเลยทีเดียว
- คนที่อยู่ในรถ ถ้าไม่คาดเข็มขัดนิรภัยเมื่อรถชนและหยุดกะทันหัน ศีรษะ ใบ หน้า และลำตัวของคนในรถจะถูกเหวี่ยงไปกระแทกกับพวงมาลัย กระจกหน้ารถจนอาจหลุดกระเด็นออกนอกตัวรถ
- อวัยวะในร่างกาย เช่น ตับ ไต ลำไส้ สมอง หรือไขสันหลังจะเคลื่อนไหวเท่ากับความเร็วของรถ เมื่อรถชนหรือหยุดอวัยวะภายในกระแทกกันเอง ทำให้ตับ ไต ลำไส้ หรือสมองฉีกขาดได้
ทั้งนี้ ก่อนออกเดินทางทุกครั้งจำเป็นต้องตรวจสอบเข็มขัดนิรภัยให้พร้อม หากคาดแล้วเกิดการหย่อนหรือม้วนเป็นเกลียว จะทำให้เข็มขัดทำงานได้ไม่เป็นประสิทธิภาพ ซึ่งหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นอาจทำให้เกิดเหตุไม่คาดฝันได้นั้นเอง การคาดเข็มขัดจะเป็นอีกตัวช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับการโดยสารได้เป็นอย่างดีนะครับ