ภัยอันตรายต่อสุขภาพที่ใกล้ตัวมากๆ หมั่นสังเกตและป้องกันก่อนจะเป็นหนักกว่านี้ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย และสถานการณ์น้ำท่วมเหนือที่มีอาจทำให้ร่างกายของเรามีต้องพบเจอกับฝนและน้ำท่วมด้วย หากว่าใครไม่ดูแลสุขภาพให้ดี พักผ่อนไม่เพียงพอ ต้องระวังอาจมีโรคที่มาพร้อมกับฝนได้
5 โรคที่มาพร้อมกับหน้าฝน
1.ไข้หวัดใหญ่
เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งเกิดได้หลายชนิด โดยสายพันธ์ุที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยที่มีอาการรุนแรง คือ ชนิด A และ B ส่วนสายพันธ์ุชนิด C มักจะไม่รุนแรง
ไข้หวัดใหญ่มักจะมีอาการ ไข้สูง ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว และอาการทางระบบหายใจตั้งแต่ น้ำมูก ไอมาก หรือหากว่ามีอาการรุนแรงอาจมีอาการหอบเหนื่อย ปวดอักเสบ เสียชีวิตได้
การป้องกัน
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ
- หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด หรือใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี
2.โรคไข้เลือดออก
ผู้ป่วยอาจมีไข้สูงลอย 2 - 7 วัน อุณหภูมิสูงกว่าปกติตลอด 24 ชั่วโมง โดยอุณหภูมิสูงและต่ำสุดไม่เกิน 1 องศาเซลเซียส มีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อตามตัว มีจุดเลือดสีแดงตามผิวหนัง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวเบื่ออาหาร หรือมีเลือดออกตามไรฟัน
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด
- ทายากันยุง นอนในมุ้ง
- สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว
- กำจัดแหล่งน้ำขัง บริเวณที่พักชั่วคราว
3.โรคฉี่หนู
ผู้ป่วยจะมีไข้สูงฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่อง โคนขา หรือหลัง ปวดศีรษะ ไอมีเลือดปน ตัวเหลือง ตาเหลือง เจ็บคอ เบื่ออาหาร มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง รวมถึงมีอาการปัสสาวะน้อย
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการแช่ การลุยน้ำ ลุยโคลน
- สวมรองเท้าบู๊ทเมื่อต้องลุยน้ำ
- หากจำเป็นต้องลุย รีบล้างเท้าด้วยสบู่และน้ำ แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็ว
- ดูแลที่พักไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อ
4.โรคติดต่อเกี่ยวกับดวงตา
เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรก สัมผัสดวงตาจากการขยี้ตา หรือการกระเด็นทำให้เกิดอาการคัน หรือตาแดง
การป้องกัน
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือขยี้ตา
- ไม่ใช้ยาหยอดตาขวดเดียวกันกับดวงตาทั้งสองข้าง หยุดใช้คอนแทคเลนส์จนกว่าอาการจะหายสนิท
- ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัว ปลอกหมอน ผ้าห่ม ร่วมกับผู้ป่วยโรคตาแดง
- พักเรียนหรือพักงานอย่างน้อย 1 สัปดาห์เพื่อไม่ให้โรคแพร่กระจายสู่ผู้อื่น
- พักการใช้สายตา และพักผ่อนให้เพียงพอ
- ไม่จำเป็นต้องปิดตา เว้นแต่กรณีที่กระจกตาอักเสบหรือเคืองตามากอาจปิดตาชั่วคราว หรือสวมแว่นกันแดดแทน
5.ผิวหนังอักเสบ
กลาก มีลักษณะเป็นผื่นวงมีขอบเขตชัดเจน มีขุย เริ่มต้นด้วยอาการคัน ตามด้วยผื่นแดงต่อมาจะลามเป็นวงออกไปเรื่อย ๆ และมักจะคันมากขึ้น ส่วนใหญ่พบในบริเวณที่มีความอับชื้น เช่น หนังศีรษะ รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ ฝ่าเท้า และซอกนิ้วเท้า
การป้องกัน
- อาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน
- ใส่เสื้อผ้าสะอาด ที่แห้งสนิท
- ล้างมือ ล้างเท้า หลังลุยน้ำท่วม
- หากตากฝน ควรสระผมและเป่าให้แห้งก่อนนอน
- กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
- กรณีที่ลุยน้ำและมีแผล ควรความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
ทั้งนี้ ยิ้มได้ประกันภัย ขอร่วมส่งกำลังใจให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในทุกพื้นที่ และขอให้ทุกท่านปลอดภัยและผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปโดยเร็ว