ฝนนี้ ระวังจุดเสี่ยง! ไฟช็อต ไฟรั่ว

July 03, 2024 อื่นๆ ฝนนี้ ระวังจุดเสี่ยง! ไฟช็อต ไฟรั่ว

     เมื่อถึงหน้าฝนทีไรอาจเจอปัญหาที่ต้องเฝ้าระวังเป็นอันดับแรกๆ คือ เรื่องของระบบไฟฟ้า ซึ่งทางสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ออกมาเตือนให้ใช้ไฟฟ้ากันอย่างระมัดระวัง เพราะว่าหากเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือสายไฟชำรุดในช่วงนี้ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย อย่างไฟรั่ว ไฟดูด ไฟช็อต วันนี้ ยิ้มได้ประกันภัย จะมาบอกวิธีป้องกันเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุขึ้นมานั่นเอง

ไฟฟ้ารั่ว' เกิดจากอะไร? มีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง?

     ไฟรั่วคืออะไร?

กระแสไฟรั่วไหลออกจากวงจรไฟฟ้าไปที่ผิวของสายไฟฟ้า หรือว่าโครงโลหะอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้า โดยสาเหตุของการเกิดไฟรั่วก็มีหลายปัจจัย ไม่ว่าจะมาจากการเสื่อมสภาพ หรือขาดการบำรุงรักษา หากใครไปสัมผัสอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ หรือเรียกว่า ไฟดูด ซึ่งหากร่างกายไปสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า แล้วทำให้กระแสไฟไหลผ่านร่างกายจะส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติขึ้นได้ เช่น

  • มีอาการเจ็บแปลบ
  • ผิวบวมแดง
  • กล้ามเนื้อเกร็ง
  • รู้สึกชาตามตัว
  • หายใจผิดปกติ
  • ปวดศีรษะ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หยุด! พฤติกรรมขับรถไม่ตามกฎจราจร เสี่ยง! อันตราย อ่านเพิ่มเติม คลิก!

 

วิธีรับมือไฟรั่ว

1.ตรวจเช็คมิเตอร์ไฟฟ้า

เผยวิธีดูมิเตอร์ บ้านไหนเข้าข่ายรัฐให้ใช้ไฟฟรี ช่วงโควิด 19
เริ่มจากนำบิลค่าไฟเดือนก่อนมาเปรียบเทียบกับมิเตอร์ปัจจุบัน หรือทำการตรวจสอบโดยปลดเบรคเกอร์หรือคัทเอาท์ลง แล้วให้ตรวจสอบว่ามิเตอร์ยังหมุนอยู่หรือไม่ หากว่ายังหมุนอยู่แปลว่าอาจเกิดไฟรั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจรลงดิน

2.ติดตั้งระบบไฟฟ้าสายดิน

อันตรายหากไม่ติดตั้งสายดิน คืออะไร ไขข้อสงสัยประโยคนี้
การติดตั้งสายดินเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันไฟรั่วในหน้าฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากกระแสไฟฟ้ารั่วมาที่โครงเครื่องใช้ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่รั่วออกมาก็จะเดินทางสู่สายดิน

3.ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว

RCD คืออะไร จำเป็นกับรถยนต์ไฟฟ้ามากขนาดไหน? - EV Trends |
เพื่อเสริมการป้องกันให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น เช่น กรณีมีน้ำทั่วขัง หรือกรณีสายดินขาดโดยจุดต่อลงดินต้องอยู่ด้านไฟเข้าของเครื่องตัดไฟรั่วเสมอ

4.ตรวจเช็คสายไฟฟ้า/เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดเสื่อมสภาพ

เครื่องมือวัด กับ การป้องกันเหตุอัคคีภัย PART Intro | เครื่องวัด ความรู้ |  LEGATOOL
หากสายไฟและเครื่องใช้ในบ้านชำรุด เสื่อมสภาพควรจะรีบซ่อมแซมหรือซื้อมาเปลี่ยนใหม่ หน้าฝนยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หากมีน้ำท่วมขังในบ้านหรือนอกบ้าน น้ำจะเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าหากไฟรั่วอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่มีน้ำขังอยู่ คนที่อยู่ในบ้านก็อาจได้รับอันตรายจากเหตุไฟดูด

5.ตรวจสอบเต้ารับไฟฟ้า

เช็กเลย วิธีตรวจสอบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในบ้านมีอะไรบ้าง
ตรวจสอบดูว่ามีรอยแตกร้าวรอยไหม้ หรือมีการชำรุดบ้างหรือไม่ หากเต้ารับหลวมก็ควรขันสกรูให้แน่น ถ้ามีการแตกร้าวหรือพบรอยไหม้ก็ควรเปลี่ยนใหม่

6.ไม่ควรสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าขณะตัวเปียก

NocNoc - ตลาดออนไลน์วัสดุและของแต่งบ้าน พร้อมติดตั้งครบวงจร
หากยืนอยู่บนที่เปียกน้ำขัง น้ำท่วม โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้า หากจำเป็นต้องสัมผัสให้ใช้วัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าปูพื้น เช่น แผ่นไม้แห้ง แผ่นยาง แผ่นพลาสติก ซึ่งเราไม่ควรประมาทเพราะหากไฟรั่วเกิน 30 มิลลิแอมป์ขึ้นไป อาจทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตได้

 

สิ่งที่ควรทำเมื่อโดนไฟดูด

  • ตัดกระแสไฟฟ้า: สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องตัดกระแสไฟฟ้าโดยเร็วที่สุด หากสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ให้รีบตัดสวิตช์ไฟ หรือดึงปลั๊กไฟ แต่ระวังอย่าสัมผัสสายไฟเปลือยด้วยมือเปล่า หากไม่สามารถตัดกระแสไฟฟ้าด้วยตัวเองได้ ให้ตะโกนขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
  • ปลดพันธนาการจากกระแสไฟฟ้า: หากร่างกายของคุณสัมผัสกับสายไฟ พยายามดึงหรือเขี่ยสายไฟออกจากตัว โดยใช้วัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น ไม้ พลาสติก หรือผ้าแห้ง แต่ระวังอย่าสัมผัสสายไฟเปลือยด้วยมือเปล่า
  • ตรวจสอบสัญญาณชีพจรและการหายใจ: หากผู้ประสบเหตุหมดสติ รีบตรวจสอบว่ามีสัญญาณชีพจรและการหายใจหรือไม่ หากไม่มี ให้รีบทำ CPR (Cardiopulmonary Resuscitation) ทันที
  • โทรแจ้งขอความช่วยเหลือ: โทรแจ้ง 1669 (สายด่วนกู้ชีพ) หรือหน่วยกู้ภัยใกล้เคียง เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์
  • ดูแลผู้ประสบเหตุ: หากผู้ประสบเหตุยังมีสติ ให้พยายามทำให้ผู้ประสบเหตุสงบ คลายกังวล และให้ความอบอุ่น หลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เว้นแต่จำเป็นจริงๆ

 

รถใหญ่ชนรถเล็ก สรุปใครผิด! อ่านเพิ่มเติม คลิก!

ห่วงอันตรายไฟรั่วช่วงน้ำท่วม - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  (สสส.)

ข้อควรระวัง

  • ห้ามสัมผัสผู้ประสบเหตุด้วยมือเปล่า หากผู้ประสบเหตุยังสัมผัสกับสายไฟ
  • ห้ามใช้น้ำราดผู้ประสบเหตุ
  • ห้ามขยับผู้ประสบเหตุ เว้นแต่จำเป็นจริงๆ
  • รีบนำผู้ประสบเหตุไปพบแพทย์ แม้ว่าผู้ประสบเหตุจะรู้สึกดีขึ้นก็ตาม เพราะอาจมีอาการแทรกซ้อนในภายหลัง

การป้องกันไฟดูด

  • ตรวจสอบสภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าและสายไฟเป็นประจำ หากพบความเสียหาย ให้รีบซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่
  • ติดตั้งระบบตัดไฟอัตโนมัติ (ELCB) เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ กรณีเกิดไฟฟ้ารั่ว
  • หลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่เปียกน้ำ
  • ห้ามใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าขณะตัวเปียก
  • สอนเด็กๆ เกี่ยวกับอันตรายจากไฟฟ้า

 

     เหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจรโอกาสที่จะเกิดขึ้นในช่วงหน้าฝนมีบ่อยครั้ง และน้ำซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าชั้นดี อาจเสี่ยงอันตรายกว่าที่คิด แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการหมั่นสังเกตความผิดปกติของสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ภายในบ้านของตนเองอย่างสม่ำเสมอนะครับ

 

     สำหรับใครที่มองหาประกันภัยรถยนต์ราคาถูก และตรงกับความต้องการ สามารถทำได้ที่ ยิ้มได้ประกันภัย เพียงโทร 02-432-2345 หรือ ซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่าน www.yimdaiinsurance.com เพื่อรับความคุ้มครองที่คุ้มค่าที่สุด

                     สนใจทำประกันภัยรถยนต์ คลิก!