"ไซยาไนด์" คืออะไร? อันตรายแค่ไหน!

May 03, 2023 อื่นๆ "ไซยาไนด์" คืออะไร? อันตรายแค่ไหน!

     ไซยาไนด์ (Cyanide) คือ สารเคมีอันตรายที่จะออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีไซยาไนด์ไอออน (CN-) เป็นองค์ประกอบ สารเคมีกลุ่มนี้มีความเป็นพิษสูงมาก ซึ่งมักพบในรูปของสารประกอบโลหะอัลคาไลด์ทีเป็นของแข็งสีขาว และสารประกอบโลหะหนัก มักพบได้มากในพืชรูปของกรดไฮโดรไซยานิค

          ไซยาไนด์ เป็นสารเคมีที่มักจะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ สิ่งทอ และพลาสติก สามารถปนเปื้อนได้ทั้งในอากาศ ดิน น้ำ และอาหาร สามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ พบได้ในพืชบางชนิด เช่นอัลมอนด์ แอปเปิล และยังเกิดได้จากกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกายมนุษย์

ไซยาไนด์ คืออะไร อันตรายแค่ไหน มีอาการแบบไหน ปฐมพยาบาลอย่างไร

 

ชนิดของไซยาไนด์

1.ไซยาไนด์อิสระ (Free Cyanide)

     คือ ไซยาไนด์ในรูปแบบของก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ หรือ กรดไซยานิค (HCN) และ ไซยาไนด์ไอออน (CN-) สัดส่วนของกรดไซยานิคต่อไซยาไนด์

ไอออน ขึ้นอยู่กับค่าพีเอช และค่าคงที่การแตกตัวของกรดในธรรมชาติจึงมักพบอยู่ไนรูปไฮโดรเจนไซยาไนด์
HCN → H+ + CN–

2.ไซยาไนด์กับโลหะอัลคาไลน์

     เป็นไซยาไนด์ที่รวมกับโลหะอัลคาไลด์ เช่น โพแทสเซียมไซยาไนด์(KCN), ไทโอไซยาเนต (SCN–) และแอมโมเนียมไซยาไนด์ (NH4CN) เป็นต้น
มีสูตรทั่วไป คือ A(CN)x เมื่อ
A = โลหะอัลคาไลน์
X = จำนวนของไซยาไนด์ไอออน

สารประกอบไซยาไนด์กับโลหะอัลคาไลน์มักไม่เสถียร ระเหยตัวง่าย เป็นของแข็งละลายน้ำได้ดี เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ไซยาไนด์ไอออน (CN–) ซึ่งมีความเป็นพิษสูง มีกลิ่นคล้ายอัลมอนด์

3.ไซยาไนด์กับโลหะหนัก

     เป็นสารประกอบไซยาไนด์กับโลหะหนักชนิดต่าง ๆ โดยไม่มีโลหะอัลคาไลด์เป็นส่วนประกอบ เช่น คอปเปอร์ (II), ไซยาไนด์ (Cu(CN)2), ซิลเวอร์ไซยาไนด์ (AgCN) และซิงค์ไซยาไนด์ (Zn(CN)2) เป็นต้น สารประกอบเหล่านี้ละลายน้ำได้น้อยมาก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : MARUMO

 

ลักษณะอาการเมื่อถูกสารพิษ

     ผู้ได้รับสารพิษอาจมีอาการ หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมดสติ ชัก เลือดเป็นกรดรุนแรง และเสียชีวิตได้โดยผลกระทบจากการได้รับไซยาไนด์อาจแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

  • ภาวะเป็นพิษจากไซยาไนด์แบบเฉียบพลัน เป็นอาการที่เกิดขึ้นในทันที เช่น หายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ ภาวะหัวใจหยุดเต้น สมองบวม ชัก และ หมดสติ เป็นต้น
เจ็บหน้าอก
  • ภาวะเป็นพิษจากไซยาไนด์แบบเรื้อรัง เกิดจากการได้รับไซยาไนด์ ปริมาณเล็กน้อยต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ในเบื้องต้นอาจทำให้เกิดอาการ ปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน เกิดผื่นแดง และอาจมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นตามมา เช่น รูม่านตาขยาย ตัวเย็น อ่อนแรง หายใจช้า เป็นต้น หากไม่ได้เข้ารับการรักษา อาจทำให้หัวใจเต้นช้าหรือเต้นผิดปกติ
ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension-type headache/TTH) ข้อมูลโรค  พร้อมโปรแกรมตรวจอาการเบื้องต้น

 

หากสัมผัสกับ ไซยาไนด์ ควรรับมืออย่างไร?

  1. การสัมผัสทางผิวหนัง หากร่างกายสัมผัสไซยาไนด์ให้ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกด้วยการใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าออกเป็นชิ้นๆ และนำออกจากลำตัวจะช่วยทำให้เสื้อผ้าที่ปนเปื้อนไม่ไปสัมผัสกับผิวหนังส่วนอื่น เช่นศีรษะ และไม่ควรให้ผู้อื่นสัมผัสร่างกายหรือเสื้อผ้าโดยตรงเพราะอาจได้รับพิษจากไซยาไนด์ไปด้วย จากนั้นทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำและสบู่เพื่อลดปริมาณสารพิษให้ได้มากที่สุด ก่อนรีบนำส่งโรงพยาบาล
  2. การสัมผัสทางดวงตา ควรถอดแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ออก จากนั้นให้ใช้น้ำสะอาดล้างตาต่อเนื่องอย่างน้อย 10 นาที และเดินทางไปยังโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษา
  3. การสูดดมและรับประทานอาหาร หากสูดดมอากาศที่มีไซยาไนด์ปนเปื้อนเข้าไป ควรออกจากพื้นที่บริเวณนั้น หากไม่สามารถออกจากสถานที่นั้นได้ควรก้มต่ำลงบนพื้นในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจลำบากหรือหยุดหายใจ ต้องช่วย CPR เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรับนำตัวส่งโรงพยาบาล

ข้อห้าม! ห้ามใช้วิธีเป่าปากหรือผายปอด เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับสารเคมี

6 วิธีให้ทาง “รถพยาบาลฉุกเฉิน”

 

หลีกเลี่ยงการสัมผัส ทำอย่างไร?

31 พ.ค. วันงดสูบบุหรี่โลก – ห้องสมุด สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
งดสูบบุหรี่
เก็บยาในตู้เย็น อันตรายหรือไม่?
เก็บภาชนะที่บรรจุสารเคมีภายในบ้านให้มิดชิดและเหมาะสม
เครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการที่มีผงผลึกสีฟ้าสดใส  ขวดรูปกรวยที่ด้านหน้าของขวดรูปทรงกลม ส ภาพสต็อก - ดาวน์โหลดรูปภาพตอนนี้ -  iStock
ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ควรใช้ภาชนะรองรับสารเคมีที่มีขนาดเล็กที่สุด อาจจะช่วยให้ได้รับสารเคมีน้อยลง รวมถึงลดโอกาสที่จะสัมผัส และการสูดดมลดลงอีกด้วย
อุปกรณ์ป้องกันสารเคมี ปกป้องร่างกายเราจากอัตราย มีอะไรบ้าง? - GLOVETEX -  บริษัท กลัฟเท็กซ์ จำกัด
ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ไม่ควรนำเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์ที่อาจจะมีสารปนเปื้อนออกนอกสถานที่ทำงานหรือการนำกลับบ้าน
จะรู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาเปลี่ยนระบบ Smoke Detector แล้ว - บริษัท หาญ  เอ็นจิเนียริ่ง โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
ติดตั้งเครื่องดับจับควัน เนื่องจากสารเคมีอาจจะมาในรูปแบบของควัน
จำหน่าย ชุดป้องกันสารเคมี (Chemical Protection) - WhiteMKT STORE : Inspired  by LnwShop.com
สวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งเมื่อต้องทำงานกับสารเคมีหรือต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของสารเคมี

     ผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับสารพิษสูงอย่างเช่น เกษตรกร ช่างเหล็ก ช่างทอง พลังงานที่อยู่ในกระบวนการผลิตกระดาษ สิ่งทอยางและพลาสติก ผู้ที่ทำงานกำจัดแมลง เป็นต้น และให้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาเป็นประจำด้วยนะครับ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : POBPAD