ร้อนนี้ระวัง! สัญญาณเตือนภาวะฮีทสโตรก อันตรายกว่าที่คิด

April 29, 2024 รถยนต์ ร้อนนี้ระวัง! สัญญาณเตือนภาวะฮีทสโตรก อันตรายกว่าที่คิด

     หลายๆ ที่ในประเทศไทยมีอุณหภูมิที่สูงถึง 40 องศาเซลเซียส ซึ่งจริงๆคนไทยจะเคยชินกับอาการร้อนกันอยู่แล้วแต่พอเข้าช่วงเดือนมีนาคมจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศที่ร้อนอยู่แล้วก็จะร้อนมากขึ้นไปอีก ซึ่งบางทีอุณหภูมิจะพุ่งขึ้นไปถึง 40 - 43 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว อาจทำให้เป็นโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) กันได้

รู้จักโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด

      เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงเกินไปซึ่งมักเกิดจากการทำงาน ใช้แรงงาน หรือออกกำลังกายอย่างหนักในภาวะแวดล้อมที่มมีอุณหภูมิสูง มักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40.5 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า และมักจะเกิดในช่วงฤดูร้อนหรือบริเวณที่มีความชื้นในอากาศสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญในร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ ปอด ไต และกล้ามเนื้อได้นะครับ

5 อันตรายจาก “แดดแรง” ที่มากกว่าแค่ “ผิวดำคล้ำเสีย”

สาเหตุของการเกิดโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke)

สาเหตุที่ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าปกตินำไปสู่การเป็นโรคฮีทสโตรก โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่

โรคฮีทสโตรกที่ไม่ได้เกิดจากการออกกำลังกายหนัก (Classical Heatstroke)เกิดจากการที่เราอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนมากเกินไป เช่น อยู่กลางแจ้ง ไม่มีแรงลม อยู่ในที่ที่มีความชื้นสูง อากาศถ่ายเทได้ไม่ดีหรืออยู่ในบ้านที่ปิดมิดชิดไม่มีที่ระบายอากาศจนส่งผลทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ที่มีอายุมาก หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนและขาดน้ำได้
โรคฮีทสโตรกที่เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก (Exertional Heatstroke)เกิดจากการที่ออกกำลังกายหักโหมมากจนเกินไปจนทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงผิดปกติ และไม่สามารถปรับตัวได้จนทำให้กลายเป็นโรคฮีทสโตรก มักพบในคนที่มีอายุน้อย นักกีฬา กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ทำงานกลางแจ้ง และสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง

เช็คด่วน! ร้อนนี้ใส่เสื้อสีไหนแล้วร้อนน้อยสุด อ่านเพิ่มเติมคลิก!

 

สัญญาณเตือนสำคัญของโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke)

  • อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส
  • ไม่มีเหงื่อออก แม้จะอยู่ในที่ที่อากาศร้อน
  • ผิวหนังแดงร้อนและแห้ง
  • รู้สึกกระหายน้ำมาก
  • ปวดศีรษะ
  • วิงเวียนศีรษะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • หายใจเร็วและหัวใจเต้นเร็ว
  • กล้ามเนื้อเกร็ง
  • มึนงง
  • สับสน
  • รูม่านตาขยาย
  • ความรู้สึกตัวลดน้อยลง
  • หมดสติ

 

                   กลุ่มเสี่ยงต่อโรคฮีทสโตรก

ทำไมเด็กเล็กเล็กถึงชอบฉีกหนังสือ - talkingpen ปากกาพูดได้ แฟลชการ์ด  flashcard : Inspired by LnwShop.com
เด็กเล็ก
บ้านผู้สูงอายุกับ 4 เคล็ดลับปรับพื้นที่ในบ้านให้เหมาะกับการใช้ชีวิต
ผู้สูงอายุ
10 โรคต้องระวังในผู้สูงอายุ โรคยอดฮิตที่สมาชิกสูงวัยเป็นกันเยอะ -  โรงพยาบาลวิมุต
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
โรคอ้วนคืออะไร ? จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน
นอนน้อย (Lack of sleep) ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร | POBPAD
ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
ทำงานกลางแจ้ง ระวังโรคลมแดด - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  (สสส.)
ผู้ที่ทำงานกลางแดดหรือออกกำลังกายกลางแดดเป็นเวลานาน

 

การป้องกันโรคฮีทสโตรก

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
  • ทาครีมกันแดด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
  • ดูแลผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นพิเศษ

 

การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก

  • ย้ายผู้ป่วยไปยังที่ร่มและเย็น
  • ปลดเสื้อผ้าให้หลวม
  • เช็ดตัวด้วยน้ำเย็นหรือพัดลม
  • ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเย็น
  • ประคบเย็นบริเวณศีรษะ คอ รักแร้ และขาหนีบ
  • รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์