ก่อนปีใหม่ 2568 หลายๆ ท่านคงจะเตรียมตัวเดินทางเที่ยวกัน ไม่ว่าจะเดินทางกลับต่างจังหวัดเพื่อไปหาครอบครัว หรือเดินทางเที่ยวเพื่อรับลมหนาวตามสถานที่ต่างๆ จึงทำให้มีผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก และมีอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ทั้งนี้ สิ่งที่ควรมีติดเอาไว้นอกจากสติที่ต้องมีตลอดเวลาอยู่แล้ว สิ่งที่คนหลงลืมไปคือ เบอร์ฉุกเฉิน เบอร์สายด่วน สำหรับเอาไว้ติดต่อองค์กรให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย, แจ้งเหตุไฟไหม้, ศูนย์จราจรและอุบัติเหตุ จส.100 หรือหน่วยแพทย์กู้ชีวิต เป็นต้น
ทำไมต้องมีเบอร์สายด่วนฉุกเฉิน?
- ความปลอดภัย: ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ ไฟไหม้ หรือเหตุร้ายแรงอื่นๆ การติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยให้เราได้รับการช่วยเหลือทันท่วงที และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
- ความอุ่นใจ: การมีเบอร์สายด่วนฉุกเฉินติดตัวไว้ จะทำให้เรารู้สึกอุ่นใจและมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องเดินทางไกลหรืออยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย
- ความสะดวกสบาย: ในยุคดิจิทัล การโทรเพียงครั้งเดียว ก็สามารถขอความช่วยเหลือได้ทันที ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็ตาม
- การปฏิบัติตามกฎหมาย: ในบางกรณี การแจ้งเหตุฉุกเฉินเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนด เช่น การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
รวมเบอร์สายด่วนฉุกเฉินที่ควรรู้
เบอร์โทรฉุกเฉิน แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย
- 1300 – เบอร์ แจ้งคนหาย
- 199 – เบอร์ แจ้งเหตุไฟไหม้/ดับเพลิง
- 191 – เบอร์ แจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
- 192 – เบอร์ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
- 1195 – เบอร์ กองปราบ (สายด่วนแจ้งเหตุอาชญากรรม คดีร้ายแรง)
- 1192 – เบอร์ ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถ (แจ้งรถหาย)
- 1196 – เบอร์ แจ้งอุบัติเหตุทางน้ำ
- 1677 – เบอร์ ร่วมด้วยช่วยกัน
เบอร์โทรฉุกเฉิน การแพทย์และโรงพยาบาล
- 1554 – เบอร์ หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล
- 1669 – เบอร์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ทั่วประเทศ)
- 1646 – เบอร์ หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน (กทม.)
- 1691 – เบอร์ โรงพยาบาลตำรวจ
- 1784 – เบอร์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- 1667 – เบอร์ สายด่วนกรมสุขภาพจิต
เบอร์โทรฉุกเฉิน การท่องเที่ยว
- 1543 – เบอร์ กรมทางพิเศษแห่งประเทศไทย
- 1193 – เบอร์ ตำรวจทางหลวง
- 1155 – เบอร์ ตำรวจท่องเที่ยว (แจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว)
- 1644 – เบอร์ สวพ. FM91 สถานีวิทยุเพื่อความปลอดภัยและจราจร
- 1690 – เบอร์ การรถไฟแห่งประเทศไทย
- 1146 – เบอร์ กรมทางหลวงชนบท
- 02-134-4077 – เบอร์ ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว (TAC)
สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
- ประเมินสถานการณ์: พิจารณาว่าสถานการณ์อันตรายมากน้อยเพียงใด และผู้ได้รับบาดเจ็บหรือไม่
- ไม่ควรเคลื่อนย้ายรถ: เว้นแต่ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการ
- รักษาความปลอดภัย: ย้ายตนเองและผู้อื่นออกจากบริเวณที่เกิดเหตุหากปลอดภัย
- แจ้งเหตุ: โทรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที
- ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น: หากว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บ ให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามความรู้ที่คุณมี
- รอความช่วยเหลือ: รอเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาถึงที่เกิดเหตุ
อย่างไรก็ตาม ต่อให้อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แม้จะในช่วงเวลาวันธรรมดา หรือช่วงเวลาเทศกาลปีใหม่ นอกจากเบอร์โทรฉุกเฉินที่ต้องจดจำแล้ว การมีประกันภัยรถยนต์ก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถขาดไปได้เช่นกัน
สำหรับใครที่ยังไม่มี ประกันภัยรถยนต์ หรือไม่รู้ว่าจะทำที่ไหนดี สามารถทำได้ที่ ยิ้มได้ ประกันภัย เพียงโทร 02-432-2345 หรือ ซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่าน www.yimdaiinsurance.com เพื่อให้คุณได้ประกันภัยที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับความคุ้มครองดีที่สุด