พ.ร.บ. เป็นคำที่ใครหลายๆ คนเคยได้ยินหรือบางคนอาจจะรู้จักมาบ้างแล้ว แต่คงไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจความหมายของ พ.ร.บ. ว่าคืออะไร มีความสำคัญและเกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตของเรา และถ้าไม่ทำจะผิดกฎหมายหรือไม่
ความหมายของ พ.ร.บ.
คือการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามกฎหมายใน พ.ร.บ. ปี 2535 ที่กฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จะต้องทำ พ.ร.บ. ก่อน จึงจะต่อทะเบียนรถได้ โดยจุดประสงค์ก็เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้ประสบเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยที่ไม่คำนึงว่าบุคคลที่ประสบเหตุนั้นจะเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายจะให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด พ.ร.บ. นี้จะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลเท่านั้น ซึ่งไม่ได้คุ้มครองรถยนต์นะคะ แต่ถ้าไม่ทำ พ.ร.บ. จะมีความผิดทางกฎหมายจราจรเสียค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาท
สิทธิที่ต้องรู้ไว้สำหรับค่าเสียหายเบื้องต้น
- ไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าฝ่ายใดผิดหรือถูก ในกรณีบาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาลคนละ 30,000 บาท และในกรณีสูญเสียอวัยวะตามเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับคนละ 35,000 บาท
- ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ และมีการสุญเสียอวัยวะตามมาจะได้รับคนละไม่เกิน 65,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพคนละ 35,000 บาท แต่ถ้าเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแล้วเกิดเสียชีวิต จะได้รับเงินชดเชยคนละไม่เกิด 65,000 บาท
สำหรับค่าสินไหมทดแทน
เป็นเงินที่ชดเชยที่จะได้รับหลังจากพิสูจน์ว่าฝ่ายใดผิดหรือถูก ซึ่งสิ่งที่ฝ่ายถูกจะได้รับ
- ค่ารักษาพยาบาลเบิกตามจริง หรือไม่เกิน 80,000 บาท
- ในกรณีเกิดสูญเสียอวัยวะ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับเงินชดเชย 200,000-300,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร จะได้รับเงินชดเชย 300,000 บาท
- กรณีผู้ป่วยใน จะได้รับเงินค่าชดเชยการรักษาตัววันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน รวมเป็นเงิน 4,000 บาท รวมถึงค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดโดยจะได้คนละไม่เกิน 304,000 บาท
สำหรับบางคนที่อยากจะทำประกันภัยภาคสมัครใจร่วมด้วย ก็สามารถทำเพิ่มได้นะคะ เพราะวงเงินเอาประกันภัยของ พ.ร.บ. ค่อนข้างน้อย ไม่ครอบคลุมความเสียหายหรือสูญหายของรถยนต์ ทำให้คนส่วนมากนิยมทำประกันภัยเพิ่ม ซื้อประกันภัยภาคสมัครใจนั้นมีอยู่ 5 ประเภท คือ ประกันภัยชั้น 1, 2, 2+, 3, และ 3+ เพื่อความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งแต่ละชั้นนั้นมีความคุ้มครองที่แตกต่างกัน สำหรับคนที่ต้องการทำเพิ่มต้องเลือกความคุ้มครองที่เหมาะกับการใช้งานของคุณด้วยนะคะ